แหล่งอาหารที่มาของสารโฟเลต
2017-04-12 21:00:00

โฟเลตสามารถพบได้ในอาหารทั่วไป แต่แหล่งอาหารที่พบโฟเลตได้มาก คือ ผักใบเขียว อย่างเช่น ผักโขม บรอกโคลี คะน้า หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด มัน ฝรั่ง กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ฝักกาดหอม ผักกาดเขียว ผักกาดแก้ว ถั่วลันเตา มะเขือเทศ แครอท ข้าวโพด ส้ม กล้วย เป็นต้น

 

ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ถั่วสีเขียว ขนมปัง โฮลวีต ข้าวช้อมมือ ปลา นมสด ไข่แดง โยเกิร์ต ตับ เป็นต้น

 

ส่วนผลไม้ พบโฟเลตในส้มและแคนตาลูป ยีสต์ ที่ใช้ในการผลิตเบียร์ ในสัตว์พบจากตับมากที่สุด นอกจากพบในอาหารแล้ว ยังได้รับกรดโฟลิกในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในนม อาหารเช้าสำเร็จรูปบางชนิด ธัญพืชและในรูปแบบของยาเม็ดวิตามินเดี่ยว ๆ  หรือในรูปแบบวิตามินบีรวม ความร้อนทำลายโฟเลต จึงควรปรุงอาหารประเภทผัก โดยทำให้สุกเร็ว ๆ เพราะความร้อนอาจทำลายโฟเลตได้ร้อยละ 80

 

นอกจากนี้กรดโฟลิกที่มีในอาหารจะถูกดูดซึมได้น้อยกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับกรดโฟลิกในรูปของยาเม็ด ดังนั้นแม้ผู้ที่ตั้งครรภ์จะได้รับประทานอาหารเหล่านี้เป็นประจำอยู่แล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดการขาดกรดโฟลิกได้ ยิ่งผู้ที่มียีนผิดปกติแฝงอยู่ ยิ่งมีความจำเป็นต้องได้รับกรดโฟลิกมากขึ้นเป็นพิเศษกว่าคนทั่วไป กรดโฟลิกชนิดเม็ดที่มีจำหน่ายมี 2 ขนาด คือ 1 มิลลิกรัม รับประทานวันละครึ่งเม็ด และ 5 มิลลิกรัม รับประทานเพียงวันละ 1/10 เม็ด

 

อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงความปลอดภัยและขอแนะนำให้รับประทานกรดโฟลิก ไม่เกินวันละ 1 มิลลิกรัม คนที่ต้องการเพิ่มกรดโฟลิกจึงควรรับประทานกรดโฟลิกในรูปยาเม็ด เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน

 

Credit : Europa_Preess , ดร.ปทัตตา_ภริตาธรรม , siamchemi.com , kasetpanlan.com , prachachat.net , maerakluke.com

by Admin Park


Admin :
view
:
3612

Post
:
2017-04-12 21:00:00


ร่วมแสดงความคิดเห็น