หน้าที่ของกรดโฟลิกที่หญิงตั้งครรภ์ควรรู้
2017-02-14 00:09:00

กรดโฟลิก มีหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในการสังเคราะห์สารพันธุกรรมและควบคุมการสร้างกรดอะมิโน หน่วยเล็กที่สุดของโปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการสร้างเซลล์ใหม่ และมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างโครงสร้างที่แข็งแรงสมบูรณ์ของเซลล์ รวมทั้งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญพันธุ์ ช่วยป้องกันความผิดปกติของเลือด แถมยังเป็นสารอาหารซึ่งคุณแม่จำเป็นต้องได้รับให้เพียงพอทั้งก่อนและหลังการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยป้องกันความพิการของสมองของลูกน้อยในครรภ์ ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางสมองที่ดี มีการเสริมสร้างใยสมองอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยทำให้ลูกฉลาดขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ กรดโฟลิกยังจะช่วยเสริมสร้างเซลล์สมองของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ มีรายงานระบุว่าโฟลิกอาจช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์

 

กรดโฟลิกจะทำงานได้ดีเมื่อร่วมกับวิตามิน B12 วิตามิน B6 และโคลีน สามารถวัดปริมาณของโฟเลตในเม็ดเลือดแดงของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เพื่อดูว่าได้รับปริมาณกรดโฟลิกหรือโฟเลตอย่างเพียงพอที่จะสามารถป้องกันความพิการทางสมองของทารกแรกเกิดได้ เมื่อการปฎิสนธิเกิดเป็นเซลล์ที่มีความสมบูรณ์ของสารพันธุกรรม มีการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณมากขึ้น พร้อมกับการก่อรูปของอวัยวะต่าง ๆ จนเป็นทารกที่สมบูรณ์ จึงมีความต้องการกรดโฟลิกเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นจำนวนประมาณ 2 เท่าของคนปกติ ในขณะที่ร่างกายต้องการกรดโฟลิกมากขึ้น กลับพบว่าระหว่างการตั้งครรภ์ลำไส้สามารถดูดซึมกรดโฟลิกจากอาหารได้ลดลง และมีการสูญเสียกรดโฟลิกทางปัสสาวะมากกว่าปกติ ทำให้พบการขาดกรดโฟลิกในสตรีตั้งครรภ์ได้สูงกว่าคนปกติทั่วไป

 

 

Advertising

 

 

ซึ่งมีผลทางการศึกษารายงานว่าการตรวจหาระดับกรดโฟลิกในเลือดของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ พบว่ามีระดับกรดโฟลิกในเลือดต่ำได้ถึงร้อยละ 25 ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของพัฒนาการของสมองและระบบประสาทของทารก ในกรณีที่คุณแม่มีระดับกรดโฟลิกในเลือดต่ำ จะมีผลทำให้ปลายท่อหลอดประสาททั้ง 2 ด้านไม่ปิด ซึ่งปกติแล้วหลอดประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์ในระหว่างสัปดาห์ที่ 3-4 หลังการปฎิสนธิ จึงเกิดความพิการของสมองและประสาทไขสันหลังซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันหลายระดับ และในคุณแม่ที่เป็นมากจะทำให้ทารกที่คลอดออกมาไม่มีเนื้อสมองจึงไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ จะเสียซีวิตในเวลาไม่นานหลังคลอด ส่วนคคุณแม่ที่เป็นน้อยจะพบกับความพิการของประสาทไขสันหลัง โดยการเกิดความผิดปกติดังกล่าวมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกันนั่นเอง

 

Credit : Europa_Preess , ดร.ปทัตตา_ภริตาธรรม , แพรธรรม , thaihealth.or.th , mamaexpert.com , antnme.com

by Admin Park


Admin :
view
:
3936

Post
:
2017-02-14 00:09:00


ร่วมแสดงความคิดเห็น