โภชนาการหญิงให้นมบุตรและเด็กในวัยเรียน
2016-09-05 13:22:00

 

โภชนาการหญิงให้นมบุตรและเด็กในวัยเรียน

 

 

     โภชนาการเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหญิงที่มีการให้นมบุตร และเด็กในวัยเรียน ที่ต้องรับสารอาหารให้เพียงพอต่อร่างกาย เสริมสร้างและซ่อมแซมสุขภาพให้สมบูรณ์  ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของร่างกาย ยิ่งมีโภชนาการที่ดีมากเท่าไหร่ ความสมบูรณ์ของร่างกายก็จะยิ่งตามมามากขึ้นเท่านั้น แต่การรับโภชนาการในแต่ละวันนั้นต้องทานอย่างให้ถูกต้องและเหมาะสม และต้องทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อที่จะได้ส่งผลดีต่อร่างกายให้ได้มากที่สุด 

 

 

โภชนาการให้นมบุตร

 

 

ระยะการให้นมบุตรแม่จำเป็นจะต้องได้รับสารอาหารต่างๆ ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทั้งนี้เพื่อ

1. ใช้ในการสร้างน้ำนมสำหรับทารก

2. ให้มีพลังงานเพียงพอที่จะใช้ในการผลิตน้ำนมแม่

3. เสริมสร้างและซ่อมแซมสุขภาพของแม่ให้สมบูรณ์

 

ตาราง แสดงประเภทอาหารและปริมาณอาหารของ

หญิงทั่วไปและหญิงให้นมบุตร (ควรบริโภคใน 1 วัน)

หมวดอาหาร

ปริมาณ

หญิงทั่วไป

หญิงให้นมบุตร

เนื้อสัตว์ต่างๆ

นมสด*

ข้าว – แป้ง

ผักสดหรือสุก

ผลไม้**

น้ำมันพืช

6 – 12 ช้อนคาว

1 – 2 แก้ว

8 -12 ทัพพี

4 – 6 ทัพพี

3 – 5 ส่วน

3 ช้อนชา

12 – 14 ช้อนคาว

2 แก้วหรือมากกว่า

9 -10 ทัพพี

6 ทัพพี

6 ส่วน

5 ช้อนชา

พลังงาน

2,000 กิโลแคลอรี

2,500 กิโลแคลอรี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุ :

 * 1 แก้ว = 240 มิลลิลิตร

** ผลไม้ 1 ส่วน เช่น กล้วยน้ำว้า 1 ผล, เงาะ 5 ผล, มะละกอสุก 8 ชิ้นคำ,

     ฝรั่ง ½ ผลกลาง เป็นต้น หรือเทียบกับรายการอาหารแลกเปลี่ยน

 

 

ข้อแนะนำในการเลือกรับประทานอาหาร

 

 

1. เนื้อสัตว์ต่างๆ หญิงมีครรภ์ควรได้รับเนื้อสัตว์ชนิดใดก็ได้เพียงพอทุกวัน แต่ไม่ควรทานแบบติดหนัง

2. ไข่เป็ดหรือไข่ไก่ ควรรับประมาน วันละ 1 ฟอง นอกจากจะมีโปรตีนมากแล้ว ยังมีธาตุเหล็ก และมีวิตามินเอมากอีกด้วย

3. นมสด มีโปรตีนสูงและมีแคลเซียมที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี หากไม่สามารถดื่มนมได้ อาจจะทำการดื่มนมถั่วเหลืองแทน แต่ควรรับประทาน ไข่ เนื้อสัตว์ หรือถั่วเมล็ดแห้งให้มากขึ้น

4. ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ควรรับประทานสลับกับเนื้อสัตว์ และรับประทานเป็นประจำ

5. ข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ถ้าหากรับประทานเป็นข้าวซ้อมมือจะทำให้ได้วิตามินบี 1 และกากใยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่อยป้องกันอาการเหน็บชาและลดอาหารท้องผูกได้

6. ผักและผลไม้ต่างๆ ควรรับประทานผลไม้หลังอาหารทุกมื้อให้หลากหลายตามฤดูกาล และรับประทานเป็นอาหารว่างทุกวัน เพราะเป็นแหล่งอาหารที่ให้ วิตามิน เกลือแร่ และกากใยที่ดีมาก นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นอีกด้วย

7. ไขมันหรือน้ำมัน ควรเลือกน้ำมันที่ได้จากพืช เพราะไม่มีโคเลสเตอรอลและยังมีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ

 

 

Advertising

 

ความต้องการทางโภชนาการของหญิงให้นมบุตร

 

 

     พลังงาน แม่ควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งนี้ขึ้นกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของแม่ในระยะมีครรภ์ และแรงงานที่แม่ใช้ในระยะให้นมบุตร อาหารที่ให้พลังงานในระยะนี้ ควรมาจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ซึ่งได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ น้ำมัน ข้าว หรือแป้งชนิดอื่นสำหรับไขมันอาจเพิ่มได้บ้างแต่ไม่ควรมากเกินไป

     โปรตีน ในระยะให้นมบุตรแม่จำเป็นต้องได้รับโปรตีนให้เพียงพอเพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมสำหรับบุตรและเพื่อซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ของแม่ที่สูญเสียไปในการคลอด ถ้าขาดโปรตีนมากจะทำให้เกิดการบวม โลหิตจาง ภูมิต้านทานโรคต่ำ แนะนำอาหารที่ให้เหล็กมากได้แก่ เครื่องในสัตว์ต่างๆ ไข่ ผักใบเขียว พืชประเภทถั่ว และผลไม้แห้งรวมทั้งผลไม้สดด้วย เพื่อได้รับวิตามินซีซึ่งจะช่วยให้เหล็กดูดซึมได้ดีขึ้น

     แคลเซียม เป็นสารอาหารที่สำคัญในการเสริมสร้างน้ำนมแม่ให้มีคุณภาพสำหรับลูกนำไปสร้างกระดูกและฟัน ดังนั้นเพื่อป้องกันการสลายตัวของแคลเซียมออกจากกระดูกซึ่งจะทำให้แม่เป็นโรคกระดูกพรุน อาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม กุ้งฝอย ยอดแค ปลาร้า ปลากเล็กปลาน้อย หรือปลาที่รับประทานทั้งกระดูก และผักใบเขียวต่างๆ

 

     วิตามินเอ แม่จะต้องได้รับวิตามินเอเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในการสร้างน้ำนม อาหารที่มีวิตามินเอสูงที่มาจากสัตว์ ได้แก่ ไข่แดง ตับ ไต เนยเทียม น้ำมันตับปลา นมสด และอาหารที่มีวิตามินเอสูงที่มาจากพืชมักพบในผักใบเขียวจัดเหลืองจัด เช่น ผักกาดเขียว แครอท ฟักทอง และผลไม้สีเหลือง แดง เช่น มะม่วงสุก มะละกอสุก เป็นต้น

     วิตามินซี ระดับวิตามินซีในนมแม่จะลดลงเมื่อให้นมบุตรไปนานกว่า 7 เดือน อาหารที่มีตามินซี ได้แก่ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว มะขามป้อม ผักสด เช่น กะหล่ำปลี มะเขือเทศ ผักใบเขียว

     วิตามินโฟเลท สารโฟเลชิน อาหารที่มีสารโฟเลชินสูง ได้แก่ ตับ ผักใบเขียวสด หน่อไม้ฝรั่ง บรอคโครี่ ผักโขม มันเทศ และขนมปังที่ทำจากข้าวสาลีทั้งเมล็ด

     วิตามินบี 1 ระยะให้นมบุตร หากแม่ขาดวิตามินบี 1 จะส่งผลให้ทารกขาดวิตามินบี 1 ด้วยเช่นกัน และเป็นโรคเหน็บชา อาหารที่มีวิตามินบี 1 ได้แก่ ข้าวซ้อมมือ เนื้อวัว หมูเนื้อแดง ตับ ธัญพืชทั้งหมด และถั่วเมล็ดแห้ง

     วิตามินบี 2 เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำนมแม่ หญิงที่ให้นมบุตร อาหารที่มีวิตามินนี้มาก ได้แก่ นมและเนย เครื่องในสัตว์ ไข่ ผักใบเขียว ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ และยีสต์

     วิตามินบี 12 การขาดวิตามินบี 12 เป็นสาเหตุให้เกิดโรคโลหิตจางได้ อาหารที่มีวิตามินมาก ได้แก่ ตับ ไต เนื้อ สัตว์ไม่มีไขมัน นมสด ไข่ และปลา

     น้ำ แม่ระยะนี้ควรได้รับน้ำประมาณ 8-10 แก้วต่อวัน และถ้าอยู่ในบริเวณที่มีอาการร้อนก็อาจจะเพิ่มได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยในการหลั่งน้ำนมให้ดีขึ้น

 

 

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว

 

 

1. รับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอ งดอาหารรสจัด และอาหารหมักดอง

2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ยาดองทุกชนิด และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดสูบบุหรี่

3. ดื่มน้ำสะอาดและพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำงานหนักเกินไป

4. ออกกำลังกายพอประมาณ ตามความเหมาะสม

5. กินยาบำรุงตามที่แพทย์สั่ง สำหรับยาอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

6. เมื่อมีอาการผิดปกติใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ในทันที

 

 

โรงเรียนสอนว่ายน้ำเด็กอ่อนและทารก เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย

Advertising

 

 

โภชนาการวัยทารก

 

 

อาหารวัยทารก

     อาหารของทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน ในน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว ซึ่งธรรมชาติได้ปรับแต่งให้สะอาดมีคุณค่า เพียงพอ และสารอาหารครบถ้วน ทั้งโปรตีน วิตามิน ไขมัน แร่ธาตุต่างๆ ครบ จะทำให้ลูกน้อยเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมองลดโอกาสเกิดภูมิแพ้และการติดเชื้อที่ปนเปื้อนมากับน้ำและอาหารอื่น มีโคลอสตรัมหรือนมน้ำสีเหลืองๆ ช่วงแรกของหลังคลอด ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค และยังช่วยระบายขี้เทาซึ่งค้างอยู่ในลำไส้ทารก มดลูกเข้าอู่เร็ว น้ำหนักตัวของแม่ลดลงอย่างรวดเร็ว

  ดังนั้น "อาหาร" ที่เหมาะสมสำหรับทารกทั้งชนิดและปริมาณ จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของทารก

 

 

สารอาหารที่สำคัญ

พลังงานและโปรตีน แหล่งอาหารในช่วงแรกเกิดถึง 4 เดือนที่ดีที่สุดคือนมแม่ หลังจากนั้นเพิ่มเติมจากไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ

แร่ธาตุเหล็ก  จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดงทารกอายุ 4-12 เดือน ได้รับแร่ธาตุเหล็กจากตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง

ไอโอดีน ช่วยการทำงานของต่อมไธรอยด์ช่วยในการพัฒนาสมอง และการเจริญเติบโตของร่างกาย ใช้เกลือไอโอดีนในการปรุงอาหาร

แคลเซียม จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน ส่วนใหญ่ได้รับจากนม

สังกะสี ช่วยในการเจริญเติบโต สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ร่างกาย มีมากในเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล

วิตามินเอ เสริมสร้างเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยเกี่ยวกับการมองเห็น แหล่งอาหารที่สำคัญคือ ตับ ไข่แดง ผักใบเขียวเข้ม และผักผลไม้สีเหลืองแสด

 

 

Advertising

โรงเรียนสอนว่ายน้ำเด็กอ่อนและทารก เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย

 

 

จุดประสงค์ของการให้อาหารเสริมในขวบปีแรก

- เพื่อฝึกพัฒนาการการกลืน

- เพื่อการเคี้ยวอาหารที่เปลี่ยนไปจากของเหลวเป็นของแข็ง

- เพื่อให้ลูกรับรู้รสชาติอาหารอื่นนอกเหนือจากนม

- เพื่อเพิ่มสารอาหารให้แก่ลูก เพื่อให้สารอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี ธาตุเหล็ก โปรตีน

- เพื่อฝึกให้ลูกกินเป็นมื้อหลัก เพื่อที่จะรับประทานอาหารเหมือนผู้ใหญ่ หลังอายุ 1 ปี และดื่มนมเป็นอาหารเสริม

 

 

คำแนะนำในการให้อาหารทารก

     การให้อาหารทารกให้ถูกต้อง เพียงพอและเหมาะสมตามวัยจะช่วยให้ทารกมีการเจริญเติบโตดี และพัฒนาการที่ดี ลดความเสี่ยงต่อการแพ้อาหาร และมีการบริโภคนิสัยที่ดีต่อไป

- เริ่มให้อาหารทีละน้อยในระยะแรก เพื่อให้ทารกฝึกการใช้ลิ้น ริมฝีปากและการกลืน

เริ่มให้อาหารทีละอย่างและเว้นระยะ 1-2 สัปดาห์ ก่อนเริ่มอาหารชนิดใหม่ เพื่อสังเกตอาการแพ้

- จัดอาหารให้หลากหลายชนิดเพื่อสร้างความคุ้นเคย

- จัดชนิดอาหารให้เหมาะสมตามวัย เนื่องจากระบบการย่อยและการดูดซึมยังไม่สมบูรณ์

- เนื้อสัมผัสของอาหาร จัดให้เหมาะกับการพัฒนาการของเด็กทารกเริ่มจากอาหารเหลว กึ่งเหลว กึ่งแข็ง อ่อนนิ่มและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

- ไปปรุงอาหารจัด เช่น หวาน เค็ม เปรี้ยว เผ็ด

- เน้นความสะอาดของวัตถุดิบและภาชนะใส่อาหาร

 

การแพ้อาหารอาหารในทารก

     ปัจจุบันอาหารทารกมีทั้งในรูปของนม (นมวัว) และอาหารเสริม การแพ้โปรตีนในนมวัวมักเกิดช่วงอายุ 1-4 เดือน อาหารคือ คัดจมูก อาเจียน ปวดท้องมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง

    การแพ้อาหารสามารถเกิดขึ้นได้กับทารก ดังนั้นอาหารแต่ละชนิดที่จะเริ่มให้ครั้งแรกต้องให้ทีละน้อย 1-2 ช้อนเล็กก่อน ดูการยอมรับว่าแพ้หรือไม่ เช่น ไข่ เริ่มไข่แดงก่อนไข่ขาว เริ่มเมื่ออายุ 7 เดือน ถ้าแพ้ไข่ขาวจะเกิดผื่นที่หน้าทั้ง 2 ข้างแก้ม ภายใน 1-2 สัปดาห์ เรียกว่า "ขี้กลากน้ำนม" ก็ควรเริ่มให้ไข่ขาวเมื่ออายุ 1 ปี แต่ไข่แดงให้ได้

     เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน พบสารแพ้กลูเตน (เป็นโปรตีนในอาหารที่ทำจากข้าวสาลี, ข้าวบาร์เลย์, ข้าวโอ๊ต) เด็กจะมีอาการท้องเสียเรื้อรัง เพราะเยื่อบุลำไส้ถูกทำลาย ปัจจุบันที่ฉลากจะระบุว่ามีกลูเตนอยู่ด้วยหรือไม่

     หากเด็กแพ้นมผสม ถั่วลิสง ช็อกโกแลต หรืออาหารทะเล อาหาร คือ ผื่นคันที่แก้ม หลังหูและตามข้อพับ แต่ถ้าทารกไม่มีอาการแพ้อาหารสามารถค่อยเพิ่มอาหารใหม่ โดยควรให้ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ แล้วจึงค่อยทำการเปลี่ยน จะเป็นการป้องกันการแพ้อาหารลูกได้

 

โภชนาการในเด็กวัยเรียน

 

เด็กวัยเรียน

     เด็กวัยเรียนหมายถึงเด็กที่อายุ 6 -12 ปี เด็กวัยนี้จะเจริญเติบโตและมีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการเรียนรู้อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ชีวิตที่มีคุณภาพในอนาคต ดังนั้นอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าเด็กในวัยนี้ได้รับอาหารไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม จะส่งผลทำให้เด็กร่างกายแคระแกรนสติปัญญาทึบ ไม่มีความพร้อมในการเรียนประสิทธิภาพการเรียนรู้และการทำงานต่ำ

 

จะทราบได้อย่างไรว่าเด็กมีการเจริญเติบโตตามปกติ?

     ผู้ปกครองควรเป็นผู้ติดตามการเจริญเติบโตของเด็ก โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง และนำมาเทียบกับน้ำหนักและส่วนสูงต่ออายุที่เหมาะสมของเด็ก

 

ตารางแสดงน้ำหนักและส่วนสูงที่เหมาะสมของเด็ก

อายุ (ปี)

น้ำหนัก (ก.ก.)

ส่วนสูง (ซ.ม.)

4 – 6

7 – 9

10 – 12

16 – 20

22 – 26

28 – 32

100 – 110

115 – 125

130 – 140

 

 

โภชนาการในเด็กวัยเรียน

 

     เด็กวัยนี้มีการเคลื่อนไหวและใช้พลังงานอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดเฉย ยกเว้นว่าไม่สบาย ดังนั้นร่างกายจึงต้องการสารอาหารต่างๆ ครบทั้ง 5 หมู่และในปริมาณที่เพียงพอ

 

อาหารหมู่ต่างๆ ที่เด็กควรได้รับประทานใน 1 วัน มีดังนี้ :

อาหาร

อายุ 6 – 9 ปี

อายุ 10 – 12 ปี

นมสด*

ไข่

ข้าวสวยอาหารแป้งอื่นๆ

เนื้อสัตว์ สุก

ผักใบเขียวและผักอื่น

ผลไม้ (ตามฤดูกาล)**

ไขมัน/น้ำมันพืช

1 – 2 แก้ว

1 ฟอง

3 ถ้วยตวง (6 ทัพพี)

5 – 6 ช้อนโต๊ะ

½ - 1 ถ้วยตวง

มื้อละ 1 ส่วน

1 – 2 ช้อนโต๊ะ

1 – 2 แก้ว

1 ฟอง

3 – 4 ถ้วยตวง (6-8 ทัพพี)

6 – 7 ช้อนโต๊ะ

1 ถ้วยตวง

มื้อละ 1 ส่วน

1 – 2 ช้อนโต๊ะ

 

*นม 1 แก้ว 200 ซีซี

**ผลไม้ 1 ส่วนให้พลังงาน 60 กิโลแคลรอรี่ ปริมาณเท่ากับกล้วยน้ำว้า 1 ผลเล็กหรือเงาะ 5 ผล หรือมะละกอสุก 8 ชิ้นขนาดคำ หรือละมุด 2 ผลเล็ก หรือ ½ ผลขนาดกลาง

 

     จากตารางผู้ปกครองสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่บุตรหลาน ได้ว่าในวันหนึ่งๆ รับประทานอาหารได้ครบตามหมวดหมู่หรือไม่ หรือเน้นหนักไปทางหมู่ใดหมู่หนึ่งมากเกินไปหรือเปล่า

 

ชนิดอาหารที่ควรเลือกให้เด็ก

 

 

1. เนื้อสัตว์ เป็นสารอาหารที่ให้โปรตีนช่วยเสริมสร้างกล้าม เนื้อ เนื้อเยื่อและ ฮอร์โมน ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เพื่อเป็นการปลูกฝังนิสัยการบริโภคที่ดีให้แก่เด็ก และควรให้อาหารทะเล เครื่องในสัตว์สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

2. ไข่เป็ด ไข่ไก่ ควรได้รับวันละ 1 ฟองทุกวัน

3. ถั่วเมล็ดแห้ง เด็กวัยเรียนควรกินถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำเพราะถั่วเมล็ดแห้งมีโปรตีน แคลเซียมและวิตามินบีสองมาก

4.นมสด เป็นอาหารที่ใช้โปรตีนและแคลอรี่สูงและยังมีแคลเซียม วิตามินเอมาก เหมาะสำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต เด็กจึงควรดื่มนมทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว

5. ผักใบเขียวและผักสีเหลือง ควรให้เด็กบริโภคในมื้ออาหารทุกมื้อและควรสับเปลี่ยนชนิดให้หลากหลายเพื่อให้เด็กได้รับวิตามินและแร่ ธาตุครบถ้วน

6. ผลไม้สด เป็นแหล่งที่ดีของวิตามินและเกลือแร่โดยเฉพาะวิตามินซี เด็กควรได้รับผลไม้ทุกวัน และเลือกชนิดให้หลากหลายตามฤดูกาล

7. ข้าว ก๋วยเตี๋ยวหรือแป้งอื่นๆ ควรจัดให้เด็กในมื้ออาหารทุกมื้อ หรือกินในรูปของขนมบ้างก็ได้ โดยเลือกข้าวหรือแป้งที่ผ่านการขัดสีน้อย เพราะมีวิตามินและแร่ธาตุมาก

8. ไขมันหรือน้ำมันพืช เป็นแหล่งที่ดีของพลังงานและช่วยให้วิตามินที่ละลายในน้ำมันถูกดูดซึมได้ดีขึ้น ควรเลือกน้ำมันพืชเพื่อใช้ในการประกอบอาหารให้แก่เด็กเช่น น้ำมัน น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

9. น้ำ ควรให้เด็กบริโภคน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว หรือให้เพียงพอกับปริมาณที่สูญเสียไปในแต่ละวัน

    โดยสารอาหารแต่ละชนิดควรให้เด็กบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมเพราะถ้าให้ในปริมาณมากเกินจะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วนได้

 

 

โภชนาการในวัยเด็ก

 

 

­­­

1. ควรจัดอาหารหลักให้เด็กบริโภคให้ครบทั้ง 3 มื้อ ไม่ควรเว้นมื้อใดมื้อหนึ่ง โดยเฉพาะมื้อเช้า

2. ควรจัดอาหารให้ครบถ้วนด้วยสัดส่วนและเพียงพอกับ ความต้องการของร่างกายเด็ก

3. ควรให้เด็กบริโภคอาหารตรงเวลา ไม่ควรให้เด็กรับประทานขนมจุบจิบ

4. ควรจัดอาหารว่างให้เด็กบริโภคตอนสายและบ่าย

5. ในแต่ละมื้อไม่ควรจัดให้มีอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลอย่างเดียวเท่านั้น ควรพยายามจัดอาหารให้ครบหมู่

6. ผู้ปกครองควรให้ความสนใจกับสภาพจิตใจของเด็กเพราะมีผลกระทบถึงการกินอาหารและโภชนาการของเด็ก

 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

     อาหารที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กได้แก่ อาหารหมักดองเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก อาหารสจัด น้ำอัดลม ชา กาแฟ ขนมหวาน ขนมกรุงกรอบ อาหารพวกนี้จะทำให้เด็กอิ่มและไม่บริโภคอาหารมื้อหลัก ทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายน้อย

 

ตัวอย่างรายการอาหารสำหรับเด็กวัยเรียนให้พลังงาน 1,500 กิโลแคลอรี่

มื้ออาหาร

คุณค่าทางโภชนาการ

เช้า ข้าวต้มไก่

       - ข้าว 1 ทัพพี

       - เนื้อไก่ 2 ช้อนกินข้า

       นม 1 กล่อง (200 มิลลิลิตร)

       กล้วยหอม 1 ผลเล็ก

 

พลังงาน 320 กิโลแคลอรี่

โปรตีน 15 กลัม

ว่างเช้า ถั่วดำแกงบวช 1 ถ้วย

พลังงาน 167 กิโลแคลอรี่

โปรตีน 9 กรัม

กลางวัน ข้าวหมูทอด ไข่ดาว

             - ข้าวสวย 1 ½ ทัพพี

             - หมูทอด 2 ช้อนกินข้าว

             - ไข่ดาว 1 ฟอง

             มะเขือเทศ แตงกวา

             น้ำแครอท 1 แก้ว

พลังงาน 440 กิโลแครอรี่

โปรตีน 16 กรัม

ว่างบ่าย โยเกิร์ต 1 ถ้วย

พลังงาน 78 กิโลแครอรี่

โปรตีน 8 กรัม

เย็น ข้าว น้ำพริกผักต้ม ปลาทูทอด

       - ข้าวสวย 2 ทัพพี

       - น้ำพริกกะปิต้ม

       - ปลาทูทอด 1 ต้มขนาดเล็ก

       แกงจืดเต้าหู้ไข่ผักกาดขาว

       - แกงจืด 1 ถ้วย

       มะม่วง ½ ผลขนาดกลาง

 

พลังงาน 440 กิโลแคลอรี่

โปรตีน 16 กรัม

 

 

ซึ่งโภชนาการต่างๆทั้งคุณแม่และคุณลูกน้อยก็ต้องผสมสานระหว่าง

การดูแลสุขภาพ การเรียนรู้ ตลอดจนการออกกำลังกาย

เพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยด้วยนะคะ

 

……………………………………………………………………………………………

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ขอบคุณรูปภาพจาก : www.healthcarethai.com / th.theasianparent.com / aomjjai.blogspot.com / eln.theasianparent.com / www.thaihealth.or.th / www.rakluke.com และ https://www.babyswimmingthailand.com

ทีมงานตาโตเรียบเรียงนำเสนอ


Admin :
view
:
4538

Post
:
2016-09-05 13:22:00


ร่วมแสดงความคิดเห็น