'ร้อนใน' สัญญาณเตือนสุขภาพ บอกอะไรมากกว่าที่คิด!!
2016-07-10 12:00:00
 
หนึ่งในอาการเจ็บป่วยที่มักพบกันบ่อยนั่นก็คือ อาการร้อนใน จนเป็นผลให้เกิดแผลในช่องปากลักษณะต่างๆ บริเวณกระพุ้งแก้มหรือบริเวณลิ้น ไม่ว่าจะเป็น ลักษณะของแผลพุพองขนาดเล็กไปจนถึงเส้นผ่านศูนย์กลางหนึ่งนิ้ว หรือแม้กระทั่งลักษณะของตุ่มน้ำปูดนูนออกมา 
 
ทั้งนี้ของอาการร้อนก็สามารถเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น การมีขี้ตา มีเสมหะ ไอ เจ็บคอ ปากเป็นแผลร้อนใน เหงือกบวม ลิ้นแตก ต่อมทอลซินอักเสบ ครั่นเนื้อ ครั่นตัว เป็นไข้ รวมถึงเป็นต้นเหตุของอาการไข้หวัด เพราะเมื่อร้อนใน ภูมิต้านทานก็ลดลง อาการเหล่านี้แต่ละคนจะไวไม่เท่ากัน
 
 
ลักษณะแผลร้อนใน
 
1.แผลร้อนในขนาดเล็ก  พบได้บ่อยในผู้มีอายุ 15-45 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย มักพบบริเวณเยื่อเมือกด้านริมฝีปาก ด้านแก้ม, กระพุ้งแก้ม และขอบของลิ้น รอยโรคมักปรากฏอยู่ในช่องปาก ประมาณ 14 วัน และมีอาการเจ็บปวดในช่วงสั้นๆ  แต่เมื่อเยื่อบุผิวในช่องปากฉีกขาด จะเป็นแผลซึ่งมีลักษณะกลมรี มีสีเหลืองอ่อนและมีความเจ็บปวดมากขึ้น
 
2. แผลร้อนในขนาดใหญ่ พบได้น้อยกว่าแผลขนาดเล็ก แต่ทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดการทานอาหาร การพูด หรือการกลืนน้ำลายจะยากลำบาก พบได้ทุกบริเวณในช่องปาก การหายของแผลกินเวลาประมาณ 10-40 วัน มักมีรอยแผลเป็นหลงเหลืออยู่
 
3. แผลชนิดคล้ายเฮอร์ปีส์ (herpetiform ulceration) มีลักษณะคล้ายแผลขนาดเล็ก พบได้บ่อยบริเวณใต้ลิ้น เพดานอ่อน ริมฝีปากด้านใน ลักษณะแผลจะเป็นกลุ่มและเจ็บปวด หายได้ภายใน 10-14 วัน ผู้ป่วยมักกลืนลำบาก  และน้ำหนักลด เนื่องจากรับประทานอาหารลำบากและไม่เพียงพอ
 
โดยสำหรับอาการของร้อนในนั้น ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อใดๆ แต่เป็นการแสดงถึงความผิดปกติของงระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายเรา อันเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งจากสาเหตุภายในและภายยนอก ทั้ง...
 
1. สภาพทางจิตใจและสังคม อาจเกิดจากความเครียด จากการทำงานที่มีความแข่งขันหรือความกดดันสูง 
2. การพักผ่อนไม่เพียงพอ จากการโหมงานหนัก
2. เกิดจากลักษณะทางกรรมพันธุ์ 
3. ภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะขาดธาตุเหล็ก โฟเลท หรือวิตามินบี 12 
4. สำหรับผู้หญิงอาจเป็นช่วงก่อนมีประจำเดือน
 
 
ในปัจจุบันนั้น ยังไม่มีตัวยาที่สามารถรักษาร้อนในให้หายขาดได้ มีเพียงยารักษาตามอาการ โดยให้สเตียรอยด์ทาเฉพาะที่ เพื่อลดอาการเจ็บและอาการอักเสบ และผู้ป่วยร้อนในเองก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัด และอาหารที่มีกรดหรือรสเปรี้ยวเช่น ผักดอง รวมไปถึงขนมหวานขบเคี้ยว ตลอดจนเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์  ซึ่งจะทำให้แผลในปากที่เป็นอยู่มีอาการรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ควรดื่มน้ำให้มากๆ และควรบ้วนปากด้วยน้ำเกลือวันละ 2-3 ครั้ง ถ้าแผลไม่หายภายใน 3 สัปดาห์ควรไปพบแพทย์
 
ดังนั้น เมื่อเกิดแผลร้อนใน จึงควรระลึกไว้ว่า เป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังเหนื่อยล้าหรือทรุดโทรม เราจึงควรหันกลับมาดูแลตัวเองด้วยการกินอาหารให้เหมาะสม นอนหลับอย่างเพียงพอ และออกกำลังกายกลางแจ้งในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์บ้าง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดร้อนในนั่นเอง 
 
 

แหล่งข้อมูล: www.km.nida.ac.th 

By : Admin@no (แอดมินโนเอง)


Admin :
view
:
15985

Post
:
2016-07-10 12:00:00


ร่วมแสดงความคิดเห็น