8 ความลับของการนอนหลับ จากงานวิจัยที่ "คุณควรรู้" !
2014-11-24 23:52:00

เพราะชีวิตไม่ได้มีแค่การทำงานหรือกิจกรรมยามเราตื่นเท่านั้น แต่ "การนอนหลับพักผ่อน" ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่นอกจากจะส่งผลถึงสุขภาพของเราแล้ว ยังมีความลับหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวเนื่องถึงชีวิตในยามตื่นของเราอีกด้วย ดังนั้นแล้วเรามาทำความรู้จักกับหลากหลายความลับจากงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า "การนอนหลับ" ไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องเสียเวลาธรรมดาๆ เรื่องหนึ่งในชีวิตของเราดีกว่า แล้วจะรู้ว่าการนอนหลับสำคัญมากกว่าที่หลายคนคิด...!

 

 

1. หญิงและชายมีระยะเวลาการนอนที่เหมาะสม "ต่างกัน"

จากผลการวิจัยจากทีมวิจัยฟินแลนด์ที่ได้ทำการตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการนอนหลับจากกลุ่มตัวอย่างชายหญิงกลุ่มละ 1,875 คน พบว่า ในกลุ่มผู้หญิงที่นอนเฉลี่ยวันละ 7.6 ชั่วโมง และผู้ชายที่นอนเฉลี่ยวันละ 7.8 ชั่วโมง มักมีการลาป่วยที่น้อยกว่าผู้ที่มีค่าเฉลี่ยการนอนมากหรือน้อยกว่าเวลาดังกล่าว ซึ่งถือเป็นงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นระยะเวลาการนอนที่ "สมบูรณ์แบบ" ของหญิงและชายมีความแตกต่างกัน โดยผู้ชายจะมีช่วงเวลาการนอนหลับที่เหมาะสมมากกว่าผู้หญิง 0.2 ชั่วโมง หรือประมาณ 12 นาที และยังส่งผลการขาดลาเวลางานอีกด้วย

 

ข้อมูลจาก www.matichon.co.th

 

 

2. ใช้สมาร์ทโฟนหลัง 3 ทุ่ม ทำให้หลับไม่ไดี

การเล่นสมาร์ทโฟนก่อนนอน ไม่ถือเป็นเรื่องเล่นๆ อย่างที่เข้าใจกันเลย เพราะมันส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอนของเรา เนื่องจากคลื่นอินฟาเรดและแสงสีฟ้าจากสมาร์ทโฟน มีผลต่อกระบวนการการหลั่งฮอร์โมนของร่างกาย และหนึ่งในนั้น ก็คือ ฮอร์โมนเมลาโธนิน (Melatonin) ซึ่งจะถูกหลั่งออกมาทำให้เกิดความงุนงง จนทำให้เราไม่สามารถพักผ่อนได้เต็มที่หรือนอนหลับได้สนิท สอดคล้องกับการวิจัยของมหาวิทยาลัยฟลอริด้าและมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ยังชี้ให้เห็นอีกว่า คนที่เช็คอีเมล์หรือเล่นสมาร์ทโฟนหลังเวลา 21.00 น. เป็นต้นไป มีแนวโน้มนอนหลับยาก และตื่นขึ้นมาพร้อมความรู้สึกไม่พร้อมทำงานอีกด้วย 

 

ข้อมูลจาก http://tiantaiclinic.com

 

 

3. นอนกลางวันที่ดี ต้องไม่เกินครึ่งชั่วโมง

มีข้อมูลที่กล่าวว่า คนที่มีนิสัยนอนกลางวันนั้น มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ น้อยกว่า คนที่ไม่ได้นอนกลางวันถึง 1/5 เท่า แต่การงีบหลับในช่วงกลางวันที่ดีนั้น เวลาที่เหมาะสมที่สุด อยู่ในช่วงเวลา 13.00-16.00 น. และไม่ควรนอนเกิน 30 นาที หรือนอนยาวหลายชั่วโมง เนื่องจากจะทำให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะหลับลึก และทำให้ระบบการนอนรวน ซึ่งนอกจากจะไม่เกิดผลดีแล้ว ยังส่งผลเสียที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอีกด้วย เอาเป็นว่านอนแค่พอรู้สึกกระชุ่มกระชวยเป็นดีที่สุด

 

ข้อมูลจาก http://sonia2304.blog.fc2.com

 

 

4. ฟังเพลงช่วงหลับลึก ทำให้ความจำดี

การฟังเพลงช่วยหลับลึกสามารถช่วยแก้วิกฤตสมองตื้นและขี้ลืมได้ เพราะจังหวะที่คลื่นสมองสั่นอย่างช้าๆ สม่ำเสมอนั้น ควบคุมการประมวลผลข้อมูลที่เอื้อต่อการจดจำได้มาก ในประเทศเยอรมัน ดร.แจน บอร์น (Jan Born) ผู้มีชื่อเสียงทางด้านระบบปราสาทและต้อมไร้ท่อ พร้อมลูกทีม ได้ทดลองเปิดเพลงให้นักศึกษาทั้ง 11 คน ฟังระหว่างนอนในช่วงกลางคืน และพบว่า หากฟังเพลงในจังหวะที่เข้ากับคลื่นสมองยามหลับสนิท จะทำให้กระบวนการจดจำถูกกระตุ้นไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจากผลการทดลองครั้งนี้ ทำให้นักศึกษาจดจำคำศัพท์ได้ดีขึ้น แต่หากเป็นเพลงที่จังหวะไม่เข้ากับคลื่นสมอง จะไม่ช่วยกระตุ้นความจำใดๆ และเป็นที่น่าเสียดายที่บทเพลงที่มีจังหวะเข้ากับคลื่นสมองยังไม่ถูกรวบรวม

 

ข้อมูลจาก http://square.megazy.com

 

 

5. นอนยาววันหยุด ทำให้เช้าวันทำงานย่ำแย่

การนอนหลับพักผ่อนยาวในช่วงสุดสัปดาห์ สามารถส่งผลให้เกิด อาการโซเชียลเจ็ทแล็ค  หรือการตอบสนองเชื่องช้าได้ในเช้าวันจันทร์ได้ อีกทั้งมีสิทธิลุกลามไปจนถึงวันพุธได้เลยทีเดียว เนื่องจากการนอนดึกตื่นสายในวันเสาร์-อาทิตย์ และใช้เวลากับการนอนหลับยาวนานกว่าในทุกๆ วันในช่วงวันหยุดนั้น ทำให้ร่างกายเกิดการปรับสภาพไม่ทัน สำหรับการทำงานในเช้าวันทำงานแรกและอาจส่งผลติดต่อยาวนานต่อ 2-3 วัน ซึ่งส่งผลให้เกิดการเบลอ เอื่อยเฉื่อย และเป็นตัวการสำคัญหนึ่งที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงนั่นเอง

 

ข้อมูลจาก http://health.kapook.com

 

 

6. นอนมากก็ไม่ดี นอนน้อยก็ไม่ดี

การศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่า คนที่นอนน้อยกว่า 4 ชั่วโมง หรือนอนมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อคืนเป็นกิจวัตร จะมีอายุสั้นกว่าคนที่นอนหลับปกติ นอกจากนี้ยังรวมถึงคนที่นอนหลับไม่เพียงพอเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงในอนาคตมากขึ้น เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และหากเป็นเด็กในวัยเจริญเติบโตก็จะส่งผลทำให้ตัวเล็กหรือโตช้ากว่าเด็กที่นอนหลับสนิทเพียงพอ เนื่องจากฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จะหลั่งได้เต็มที่ขณะหลับลึก ดังนั้น เด็กๆจึงควรนอนหลับให้เพียงพอ และไม่ควรถูกปลุกขณะหลับสนิท

 

 

 

7. การเข้านอน-ตื่นนอนเป็นเวลา ทำให้น้ำหนักลด ไม่อ้วน!

ผู้ที่ตื่นนอนและเข้านอนในเวลาเดียวกันทุกวัน จะผอมกว่าผู้ที่นอนผิดปกติไม่เป็นเวลา เนื่องจากนิสัยการนอนหลับส่งผลต่อไขมันในร่างกาย ซึ่งมีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารส่งเสริมสุขภาพอเมริกัน พบว่า ผู้ที่นอนน้อยกว่า 6.5 ชั่วโมงหรือมากกว่า 8.5 ชั่วโมง มีการเชื่อมโยงกับระดับที่สูงขึ้นของไขมันในร่างกาย และในผู้หญิงที่เปลี่ยนเวลานอนและตื่นไปกว่า 90 นาที พบว่าใน 1 สัปดาห์ มีระดับไขมันในร่างกายสูงกว่า ผู้ที่เปลี่ยนเวลานอนและตื่นน้อยกว่า 60 นาที ดังนั้นหากเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาเดียวกันก็จะยิ่งส่งผลดีต่อระดับไขมันในร่างกาย

 

ข้อมูลจาก http://www.thainht.org

 
 

8. ทำงานเป็นกะ ทำให้มนุษย์สมองแก่

ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยสวอนซีของอังกฤษ และมหาวิทยาลัยตูลูสของฝรั่งเศส เปิดเผยผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Occupational and Environmental Medicine ว่าการทำงานกะกลางคืน หรือที่เรียกว่า "Antisocial Hours" ติดต่อกันนาน 10 ปี จะทำให้สมองของคนเราแก่ลงถึง 6 ปี และยังส่งผลต่อสมรรถภาพในการเรียนรู้ ไปจนถึงความจำ และการคิดวิเคราะห์อื่นๆ เนื่องจากสมองถูกบังคับให้ทำงานขัดกับนาฬิกาชีวิตที่ธรรมชาติกำหนดให้ร่างกายมนุษย์ทำกิจกรรมต่างๆ ตอนกลางวัน และพักผ่อนตอนกลางคืน นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน เพราะทำให้ผู้ทำงานกินอาหารในช่วงเวลาที่ระบบเผาเผลาญของร่างกายไม่ทำงาน รวมถึงเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า อย่างไรก็ดี นักวิจัยก็ได้พบเหมือนกันว่า หากผู้ที่ทำงานเป็นกะเปลี่ยนมาทำตามเวลาปกติเมื่อใด สติปัญญาก็อาจกลับคืนดีใหม่ได้ เพียงแต่ว่าอาจกินเวลานานตั้ง 5 ปี ถึงจะเห็นผล.

 

ข้อมูลจาก http://news.voicetv.co.th

 

เอาเป็นว่าควรเดินทางสายกลาง คือไม่โหมงานหนักจนเกินไป หรือเอาแต่นอนมากเกินไป มิฉะนั้นผลเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมด ก็หนีไม่พ้นสุขภาพของตัวเราเองทั้งนั้น หวังว่าะมีประโยชน์ต่อทุกคนนะคะ

 

By : Admin@no_สวยสึดๆ


Admin :
view
:
25351

Post
:
2014-11-24 23:52:00


ร่วมแสดงความคิดเห็น