เจาะลึก 50 ปี "คมพยาบาท" ที่เป็นหนังและละครมาแล้ว 7 เวอร์ชั่น
2014-06-24 10:41:02

 

 

คมพยาบาท เป็นบทประพันธ์ของสุข หฤทัย (เทพ สุทธิพงศ์) มีเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน ดังนั้นในช่วง 50 ปีมานี้จึงมีผู้สร้างภาพยนตร์และผู้จัดละครต่างนำมาสร้างเป็นภาพภายนตร์และละครมาแล้วถึง 7 ครั้งด้วยกัน
และแต่ละครั้งก็ประสบความสำเร็จด้วยดี มีผู้ชมกล่าวขานถึงอย่างมากมาย มาดูรายละเอียดกันครับ 

ครั้งที่ 1
ภาพยนตร์ (พ.ศ. 2506) ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ 16 มม. กำกับการแสดงโดย พันคำ สร้างโดย สวาท รัตนสาสน์ นำแสดงโดย ชนะ ศรีอุบล, เพชรา เชาวราษฎร์, เมตตา รุ่งรัตน์, พันคำ, พงษ์ลดา พิมลพรรณ, อมรา อัศวนนท์ ฉายที่โรงภาพยนตร์คาเธ่ย์ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506

ครั้งที่ 2
ละครโทรทัศน์ (พ.ศ. 2512) ออกอากาศทาง ช่อง 4 บางขุนพรหม จัดโดย อารีย์ นักดนตรี สร้างโดยคณะอารีวัลย์[6] นำแสดงโดย กำธร สุวรรณปิยะศิริ, อารีย์ นักดนตรี, สุพรรณ บูรณะพิมพ์, รุจน์ รณภพ, ฉันทนา ธาราจันทร์, ศิริพร วงศ์สวัสดิ์,มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา, มาลี เวชประเสริฐ

ครั้งที่ 3
ละครโทรทัศน์ (พ.ศ. 2520) ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. [7] จัดโดย สินีนาฎ โพธิเวส นำแสดงโดย ธานินทร์ อินทรเทพ, ยุวธิดา สุรัสวดี, พัชรา กุญชร ณ อยุธยา, อดุลย์ ดุลยรัตน์, นันทวัน เมฆใหญ่, อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา

ครั้งที่ 4
ภาพยนตร์โทรทัศน์ (พ.ศ. 2525-2526) ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 สร้างโดยค่ายดาราฟิล์ม กำกับการแสดงโดย มานิตย์ สัมมาบัติ (พากย์เสียง) นำแสดงโดย เมธี บันเทิง, กมลวรรณ ขวัญศิริ , เกษริน พูนลาภ  , ปริญญา สุขอารมณ์, อรดี อิงคุนานนท์, ศศิวรรณ นันทิยารักษ์, ไศลทิพย์ ตาปนานนท์, ดวงดาว มนต์ดารา

ครั้งที่ 5
ละครโทรทัศน์ (พ.ศ. 2531) ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สร้างโดยคณะรัศมีดาวการละคร จัดโดย กนกวรรณ ด่านอุดม นำแสดงโดย ชัยรัตน์ จิตรธรรม, ชไมพร จตุรภุช, นฤมล ศิลปี, นพพล โกมารชุน, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, นาถยา แดงบุหงา, บุญจิรา สุวรรณจินดา

ครั้งที่ 6
ละครโทรทัศน์ (พ.ศ. 2544) ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 สร้างโดย ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น กำกับการแสดงโดย รุจน์ รณภพ  นำแสดงโดย วีรภาพ สุภาพไพบูลย์, จีรนันท์ มะโนแจ่ม, พัชราภา ไชยเชื้อ, อัศวิน รัตนประชา,กาญจนา จินดาวัฒน์, สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์, จุรี โอศิริ, อรรถชัย อนันตเมฆ

ครั้งที่ 7
ละครโทรทัศน์ (พ.ศ. 2557) ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 สร้างโดย ดาราวิดีโอ กำกับการแสดงโดย เพ็ญลักษณ์ อุดมสิน นำแสดงโดย ภัทรเดช สงวนความดี, ทิสานาฏ ศรศึก, ทัศนียา การสมนุช, ศรุต วิจิตรานนท์, ดารัณ บุญยศักดิ์, ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์, ดวงดาว จารุจินดา, ชยพล บุนนาค

 

 

 

คมพยาบาท เวอร์ชั่นแรก เป็นภาพยนตร์(ครั้งเดียว) ประมาณปี 2506 เป็นหนังครั้งนั้นครั้งเดียว นอกนั้นเป็นละครทีวี

 

 

ก็เป็นอีกทัศนะหนึ่งที่มองการแสดงของตัวละคร "น้อย" แต่ละเวอร์ชั่น

 

สุพรรณ บูรณะพิมพ์ กับบทบาท"นังเนื้อเย็น" หรือ "นางสันดานเย็น" (เวอร์ชั่นนี้เขาเรียกกันแบบนี้ตลอด) ละครของช่อง 4 บางขุนพรหม 

ประมาณปี 2511-12
 
คุณแฟนละคร thaifilmได้วิจารณ์การแสดงของ "เย็น" ในแต่ละเวอร์ชั่นไว้ว่า
 
การแสดงของเนื้อเย็นแต่ยุค แล้วแต่การทำบท การกำกับของการสร้างแต่ละครั้งจะเน้นส่วนใด สำหรับบุคลิกของผู้แสดงก็มีส่วนด้วยเมื่อรับบท 
 
1.อมรา ...เล่นร้ายได้ดี สีหน้าแววตาแสดงออกดี แต่หน้าเป็นฝรั่ง ดูขัดกับบทที่ต้องเป็นคนไทย การแสดงไม่มีปัญหา ยุคนั้นบทร้ายเป็นตัวเด่นต้องนึกถึงคุณอมราเท่านั้นจึงลงตัว 
2.สุพรรณ....สีหน้า แววตา น้ำเสียงและบุคลิก..ร้ายแบบเปิดเผยเลย ดูดุและกดดันมาก แสดงอารมณ์เข้ากับบทได้ดีมาก...แต่สีหน้าดุจนดูน่ากลัวน่าเกรงไปในตัว เป็นเนื้อเย็นที่เครียดทีสุดก็ว่าได้..ดูจริงจังสุดๆ 
3.อรสา...ดูไม่ดุ ไม่น่ากลัว แต่กลับเป็นตลกไปเสีย..ตามบุคลิกของน้าเต๋า ดูไม่จริงจังเหมือนที่บทเขียนไว้ แต่ช่วยคลายความเครียดและสร้างบรรยากาศความแค้นให้เป็นความน่าสงสารได้ 
4.ศศิวรรณ....เก็บความรู้สึกได้ดี สีหน้า แววตา ซ่อนความแค้นไว้ในใบหน้าที่หวาน ยิ้มอย่างมีเลศนัยได้ดี ..แต่เป็นหนังพากษ์ จึงทำให้เสียงพากษ์กับลีลาการแสดงไม่ไปด้วยกัน การถ่ายทำไม่ค่อยพิถีพิถัน ทำให้บทกระจายไปยังตัวอื่นๆด้วย ทั้งที่เธอเล่นได้ไม่เลวเลย 
5.นาถยา.....เป็นเนื้อเย็นที่สวยที่สุดในบรรดาผู้รับบทนี้กระมัง แสดงบทเก็บกดดี สีหน้า แววตา และเสียงดุ ห้าว เข้ากับบท แต่เสียงใหญ่ไปหน่อย ในบทที่ต้องอ่อนหวาน จึงดูขัดไปนิด ส่วนการแสดงไม่ต้องพูดถึง เธอเป็นดาราเจ้าบทบาทคนหนึ่งแล้วช่วงนั้นเป็นยุคของเธอ จึงลงบทนี้ได้ไม่มีปัญหา..แต่ดูเหมือนเธอเล่นเป็นเนื้อเย็นที่ไม่ค่อยมีคนเกลียดนะ..กลับได้รับความเห็นใจเสียมากกว่าบทวณีและน้อยเสียอีก 
6.สุภาภรณ์....เล่นบทร้ายลึกได้ดี สีหน้า สายตา แสดงออกถึงความเจ็บแค้นดี แต่ดูบ้างครั้ง"แอ็ค"ไปนิดในการทำเสียงและแสดงสีหน้าเคียดแค้น บางคนบอก "เว่อร์" จนดูหน้าดุไป แต่ก็เล่นได้ดีตามบทที่ได้ ซึ่งตอนหลังไปเน้นบท เปีย-พัชราภา มากจน"เวอร์" อย่างเห็นได้ชัด 
 
กล่าวรวมได้ ว่าแต่ละคนก็เล่นได้ดีตามบทที่ได้รับ การสร้างแต่ละครั้งที่ผู้สร้างวางคอนเซ็ปไว้ และผสมกับบุคลิกของแต่ละคน...ทำให้รสชาดของคมพยาบาทแต่ละยุคมีสีสันต่างๆกันไป อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ บท "เย็น" กับ "เปีย" ที่ขับเคี่ยวบทกัน ทำให้เป็นจุดที่ต้องระวังในการทำบทและวางตัวนักแสดงให้เหมาะ...จึงเป็นคมพยาบาทที่น่าชม
 
 
เปีย
 
 
น้าเหน่ง เมตตา รุ่งรัตน์ เคยรับบท เปีย ในหนัง คมพยาบาท มาแล้วเช่นกันในเวอร์ชั่นแรกเลย
 
 
กษริน พูนลาภ เปีย เวอร์ชั่น 2525
 
คุณประภา thaifilm ได้วิจารณ์การแสดงของ "เปีย" ในแต่ละเวอร์ชั่นไว้ว่า
 
 
บท"เปีย" ก็เป็นสีสันของเรื่อง ตามที่คุณแฟนละครว่าจริงๆ เป็นตัวเด่นขับเคี่ยวกับเย็น และเป็นจุดจบที่ทำให้เย็นต้องชดใช้ผลการกระทำของตนไปในตัว 
 
1.เมตตา...เป็นเปียที่มีความหลากหลาย ทั้งตลก ทั้งน่าหมั่นไส้ และน่าเห็นใจที่ถูกเลี้ยงมาท่ามกลางความแค้นของเย็น ซึ่งหวังให้เป็นตัวแทนของตน แข่งกับน้อย ในเรื่องเน้นให้เมตตาเป็นตัวอิจฉา แกล้งน้อน(เพชรา) เพื่อให้คนดูสงสารเพชรามากขึ้น และประชันกับอมรา เพื่อให้อมราแสดงความแค้นและอารมณ์ผ่านการตอบโต้กับเมตตาแทน 
2.ศิริพร...เป็นเปียที่น่ารัก น่าเอ็นดู ไม่ร้าย แต่ดูเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่ายเสียมากกว่า ศิริพรรับบทนี้ขณะยังเป็นนางเอกประเภทแก่นแก้ว กุ๊กกิ๊กในเรื่องต่างๆ จึงดูเป็นเปียที่สบายๆ เอาแต่ใจ เพราะถูกตามใจ จึงเป็นคนอยากได้และขี้อิจฉามากว่าร้าย เพราะสุพรรณ(เย็น)ร้ายคนเดียวพอแล้ว 
3.พัชรา....เป็นเปียที่ดูสวย แสนแง่งอนมากกว่าร้าย กลายเป็นเปียที่กุ๊กกิ๊ก วีนเก่ง ช่างฟ้อง ชอบแกล้ง ไม่ร้าย ไม่อิจฉา แต่ช่วยลดความตลกของอรสา(เย็น)ลงได้พอควร 
4.เกษศรินทร์....เป็นเปียที่หลากหลาย เพราะบทกระจายตามการสร้าง ชอบโวยวาย ชอบแกล้ง ดูตลกและน่ารักไปด้วย ไม่ร้ายนัก เพราะหน้าตาบุคลิกไม่ให้กับบทร้าย แต่ก็แสดงได้ยียวนกวนประสาทดี จนคนดูเกลียดและอยากตบจริงๆเช่นกัน 
5.นฤมล ศิลปี....เป็นเปียที่สวยแบบแข็งๆ ไม่หวาน แต่มีความมั่นใจในตนเอง อิจฉาตาร้อนได้ดีตามบท แต่การสร้างทำบทให้เก็บกด ไม่ค่อยโวยวายเหมือนเวอร์ชั่นอื่น เหมือนเป็นการให้ฝึกประลองฝีมือกับนาถยา 
6.พัชราภา....เป็นเปียที่สวย ปราดเปรียวจนดูเซ็กซี่ แต่บทเน้นให้เป็นคนโวยวาย อารมณ์ร้ายและแรงอยู่บ่อย จนเห็นว่า"เว่อร์" คนดูชักรำคาญ เพราะกรี๊ดกร๊าดเกินเหตุ การสร้างครั้งนี้เหมือนบทส่งให้เธอเป็นจุดขาย กลายเป็นตัวเด่นกว่าเย็นเสียด้วยซิ...ก็นับว่าเป็นเรื่องที่แจ้งเกิดของเธอในบทร้ายได้ ขณะเดียวกันบทก็ส่งให้ น้อย-จีรนันท์ ได้เกิดด้วย เพราะคนดู "อิน" สงสาร เห็นใจ ที่ถูกแกล้งทั้งจากเย็นและเปีย 
 
การแสดงของ"เปีย" ซึ่งเป็นตัวเด่นอีกตัวของเรื่อง จึงเป็นไปตามลีลาของแต่ละคน และการสร้างแต่ละครั้ง อีกเช่นกัน 
 
 
น้อย
 
 
 
คุณแม่อี๊ด เพชรา เชาวน์ราษฎร์ อดีตนางเอกยอดนิยม เจ้าของฉายา นัยน์ตาหยาดน้ำผึ้งของเราคนนี้ เคยรับบท "น้อย" ในหนัง คมพยาบาท เวอร์ชั่นแรก
 
 
คุณอาภา thaifilm ได้วิจารณ์การแสดงของ "น้อย" ในแต่ละเวอร์ชั่นไว้ว่า
 
น้อย...ในแต่ละยุคก็ต่างกัน แม้ว่าเป็นบทเรียบๆ แต่ต้องเก็บกด เรียกความสงสารให้ได้ ไม่เช่นนั้นกลายเป็นเล่นแข็งหรือถูกบทเย็นกับเปียข่มทับ กลายเป็นบทไม่สำคัญไป ทั้งที่เป็นนางเอกของเรื่อง 
 
1.เพชรา....บทเหมาะอยู่แล้ว ทั้งหวาน น่ารัก เป็นที่นิยมของแฟนหนัง เล่นได้ประทับใจ น่าสงสารและเรียกความเห็นใจจากคนดูได้ไม่น้อยเลย 
2.ฉันทนา ธาราจันทร์...บุคลิกก็เหมาะกับบท แต่ดูแข็งบางตอน เพราะเหมือนเธอเล่นละครใหม่ๆ แล้วก็เล่นไม่กี่เรื่อง เหมือนเป็นดารารับเชิญเสียมากกว่า บทเด่นจึงไปอยู่ที่สุพรรณ(เย็น) กับเปีย(ศิริพร) ที่คนดูรู้จักแล้วและได้ชมมาหลายเรื่อง 
3.ยุวธิดา....เล่นได้น่ารักดี อ่อนหวานตามบท 
4.หนังช่อง 7 พากษ์เสียง ผู้เล่นบทนี้ ไม่ทราบชื่อ ตอนนี้ไม่แสดงแล้ว หน้าคล้ายๆแขก คมขำดี ดูเรียบร้อย เรียกคะแนนสงสารจากคนดูได้เช่นกัน เพราะคนดูหมั่นไส้และเกียดเกศรินทร์ ในบทเปีย แต่บทเปียดังกว่ามาก นางเอกคนนี้เลยไม่ได้แจ้งเกิดในวงการ แล้วก็หายไป 
5.ชไมพร จตุรภุช....เป็นน้อยที่ดูเก่ง มีความเชื่อมั่นในตนเองมากหน่อย ต่างจากบท ช่วงนั้นพี่เหมียวยังรับบทนางเอกเรียบๆ ซึ่งดูไม่ค่อยเหมาะกับบุคลิกนัก แต่ก็เล่นดี มีความเก็บกดอยู่ในตัว แววตาแสดงออกดี แม้บางครั้งดูหน้าดุไปนิด แต่ก็น่าสงสารได้ในบางตอน 
6.จีรนันท์ มโนแจ่ม...เหมือนว่าเป็นเรื่องแรกของเธอ บุคลิกก็เหมาะกับบท การแสดงก็ไม่แข็ง เล่นได้น่าเห็นใจ เพราะบทส่งให้เกลียดเปีย(อั้ม)สุดๆ เลยคนดูสงสารน้อย(ยุ้ย)สุดๆ อีกเช่นกัน 
 
ก็เป็นอีกทัศนะหนึ่งที่มองการแสดงของตัวละคร "น้อย" แต่ละเวอร์ชั่น
 
 
เลอสรร
 
 
 
"คุณเลอสรร" คนแรกบนแผ่นฟิล์มก็คือ คุณชนะ ศรีอุบล พระเอกดังผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่บุคลิก ท่าทาง เหมาะกับบทคุณชาย สุภาพบุรุษ เรียบร้อย สง่างามมากในยุคนั้น
 
คุณสมร thaifilm ได้วิจารณ์การแสดงของ "เลอสรร" ในแต่ละเวอร์ชั่นไว้ว่า
 
 
มาถึงคิวพระเอกบ้าง "พระเอก" ของเรื่อง คือ เลอสรร เป็นรุ่นลูก มีหลายคนรับบทนี้ ตามยุคสมัย บทไม่ยาก เล่นสบายๆ จึงไม่ค่อยมีปัญหา ขอให้หล่อ รูปร่างหน้าตาดี เรียบร้อย สุภาพ เท่านั้นคงพอ 
 
1.ชนะ ศรีอุบล....ในยุคนั้นเหมาะเลยกับบทแป๊ะ หล่อ สุภาพ ภูมิฐาน เป็นไปตามบท 
2.รุจน์ รณภพ....ตอนหนุ่มๆ หล่อนะ มีเสน่ห์ด้วย ก็ได้ตามบท แต่ในหนังเป็นพระรองบ้าง ตลกบ้าง ผู้ร้ายบ้าง พอมาเล่นละครเป็นพระเอก คนดูบางคนบอกว่าขัดๆ อยู่ แล้วก็หมั่นไส้บทร้ายในหนังบางเรื่อง พอเป็นพระเอกจึงดูผิดตาไปหน่อย 
3.ธานินทร์ อินทรเทพ....เป็นนักร้อง แต่รับเชิญแสดงหนังและละครหลายเรื่อง เรื่องนี้เป็นพระเอกเลย เรียบร้อย สุภาพตามบทได้ แต่ดูเตี้ยไปนิด และหล่อน้อยไปหน่อย ตาเล็กไม่หวานวาวเท่าที่ควร เล่นเหมือนเป็นดารารับเชิญ จึงไม่ติดใจคนดูนัก 
4.เศกสิทธิ์ สันติพงศ์.....เป็นพระเอกของช่อง 7 ขาประจำ เล่นเรื่องนี้ใช้ได้ แต่ตัวโตกว่านางเอกมาก ดูไม่สมดุลกัน บุคลิกสุภาพดี แต่ก็หล่อไม่มากนัก 
5.ชัยรัตน์ จิตรธรรม.....เป็นพระเอกดังขณะนั้น เล่นเรื่องนี้ตอนดังจึงเป็นที่นิยมของคนดู บุคลิกไปได้กับบท หน้าตาคมคายดี แต่รูปร่างท้วมไปนิด เหมือนว่าเป็นพระเอกลงพุงสักหน่อย แต่เล่นได้ตามบท เพราะเคยเล่นเรื่องอื่นมาแล้วหลายเรื่อง ทั้งหนังทั้งละคร จึงลงตัว 
5.วีรภาพ สุภาพไพบูลย์...เลอสรรคนล่าสุด เล่นเป็นเรื่องแรกๆ ดูแข็งอยู่บ้าง แต่หน้าหล่อ คมคาย ไปกันได้กับบท ตอนนั้นดูสุภาพสมชื่อ เรียบร้อย จึงไม่มีปัญหากับคนดู ผู้สร้างคงตั้งใจให้นางเอก(ร้าย)ในเรื่อง คือ อั้ม มาเป็นเจ๊ดันให้เกิด..ก็ได้เกิดเช่นกัน 
 
"เลอสรร" ในแต่ละเวอร์ชั่น ก็เป็นดังนี้ เป็นทัศนะหนึ่งเช่นกัน
 
 
อุทัย
 
 
 
กำธร สุวรรณปิยะศิริ กับ อารีย์ นักดนตรี เป็นคุณอุทัยกับคุณวณี ในละครครั้งแรก ทางช่อง 4 บางขุนพรหม เป็นเวอร์ชั่นละครครั้งแรก
 
คุณพิมพาthaifilm ได้วิจารณ์การแสดงของ "อุทัย" ในแต่ละเวอร์ชั่นไว้ว่า
 
สำหรับบทพระเอกรุ่นพ่อ "อุทัย" ก็สำคัญ เพราะเป็นต้นเรื่องที่ก่อให้เกิดความอาฆาตแค้นของเย็น เป็นจุดกำเนิดของคมพยาบาทก็ว่าได้ ก็เรื่องของเรื่องไม่รักดี ...เอาคนใช้เป็นเมียแล้วก็ไม่สามารถรับผิดชอบได้นี่นา...ก็เลยถูกสอนให้บทเรียนผู้ชายเจ้าชู้ให้เข็ด โดยผู้แต่งใช้ "เย็น" เป็นเครื่องมือ...จะได้รู้เสียมั่งว่าความสูญเสียเป็นยังไง 
 
1.พันคำ...เล่นได้ดี บุคลิกขรึม ภูมิฐาน แต่ดูแล้วไม่น่าเป็นคนเจ้าชู้เลย ตามบทก็ไม่ใช่เจ้าชู้ แต่เผลอใจไปกับคนใช้สาว ด้วยความเป็นหนุ่ม ก็เล่นได้ตามบทซึ่งในหนังไม่เน้นมาก เป็นการเล่าท้าวความถึงสาเหตุให้ทราบที่มาของความพยาบาทนิดเดียว 
2.กำธร....พระเอกดังในละครช่อง 4 ยุคนั้น เล่นตามบุคลิก ขรึม สุขุม ดูดี แสดงให้เห็นว่าไม่ตั้งใจจะได้คนใช้เป็นเมีย แต่ด้วยความใกล้ชิด ทำให้เผลอไป จึงเกิดเรื่อง 
3.อดุลย์...ดูหล่อ คม บุคลิกเป็นชายกรุ้มกริ่ม น่าที่จะคนใช้มาชอบเองเสียมากกว่า แล้วเผลอตัวไป ป๊ะดุลย์ตอนหนุ่มๆ หล่อคมมาก ท่าทีออกเจ้าชูหน่อยๆ สมกับบทที่แสดงให้เห็นว่านี่เองถึงเกิดเรื่อง 
4.ปริญญา สุขารมณ์...ครั้งเป็นหนังช่อง 7 บทนี้ไม่เน้นตั้งแต่แรก ท้าวความเล็กน้อยว่าต้องแต่งงานกับผู้หญิงที่พ่อแม่จัดให้ แต่แอบได้คนใช้ในบ้านไว้แล้ว บุคลิกดูสุภาพดี แต่เล่นแข็งๆ แล้วก็ยังหนุ่มไปกว่ารับบทพ่อ (คนเดียวกับที่เล่นเป็นพ่อดาวพระศุกร์ ฉบับ พล-มนฤดี ไง) 
5.นพพล...สร้างครั้งนั้น เน้นมากขึ้น เพื่อให้ขับเคี่ยวบทกับนาถยา การแสดงไม่ต้องพูดถึง ฝีมือเยี่ยมอยู่แล้ว(แม้หล่อน้อย) แต่บทเพิ่มไปให้เห็นว่าได้คนใช้เพราะความต้องการมากกว่าความบังเอิญ เพราะคนใช้สวย เมื่อต้องแต่งกับผู้หญิงที่แม่จัดให้ จึงอึดอัด ตัดสินใจลำบาก ตรงนี้นพพลเล่นได้ดี 
6.อัศวิน....อุทัยคนนี้หล่อ..ว้าว...อย่างนี้เองแม้ไม่เล่นด้วย คนใช้ก็คงเตรียมเล่น..(หากเป็นเรื่องจริง) บุคลิก หน้าตาไม่ต้องพูดถึง มีสิทธ์เกิดเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว(จริงๆ) แต่การแสดงไม่ค่อย "อิน" กับบท ผู้สร้างจงใจขายความหล่ออย่างเดียวมั้ง...จริงๆ ตั้งแต่ช่วงที่ดัง อาตึ๋งก็มักได้บทที่โชว์ความหล่ออยู่แล้ว การแสดงเป็นรอง จึงได้บทที่เหมือนๆ เดิม คือเป็นหนุ่มเจ้าชู้ เจ้าสำราญ นักเรียนนอก เพลย์บอย...(เหมือนพี่แซม) ไม่ค่อยได้เปลี่ยนบทเป็นบทอื่น เพราะบุคลิกเหมาะกับแนวนี้ จึงเล่นแนวบทอย่างนี้เกือบตลอดเหมือนอาอ๊อดภิญโญ ผิดกับพระเอกวัยเดียวกัน เช่น อาหนิงนิรุตติ์ อาหมูสมภพ ที่ยังได้เปลี่ยบทหลากหลาย จึงยังเห็นแสดงอยู่ทุกวันนี้....แต่ดูเฉพาะความหล่อของอาตึ๋ง แม้ในวัยขณะนี้ ก็น่าให้เกิดเรื่องคมพยาบาทอยู่หรอก...จริงไหมจ๊ะ 
 
ทั้งหมดนี้ก็คือทัศนะหนึ่งของตัวละคร(ผ่านความเห็นของตัวผู้เขียน)เกี่ยวกับบท "อุทัย" พ่อนางเอกเรื่องคมพยาบาทนั่นเอง ซึ่งตามบทไม่ใช่คนเจ้าชู้ ไม่ได้มีเมียอยู่แล้ว และไปมีเมียน้อย แต่มีคู่หมั้นที่ต้องแต่งด้วย แล้วไปได้คนใช้ก่อน ต้องตัดใจไป เพราะเปิดเผยไม่ได้ จึงได้เรื่อง...
 
 
วณี
 
 
กาญจนา จินดาวัฒน์ วณีเวอร์ชั่น 2525 
 
 
 
เนาวรัตน์ยุกตะนันท์เคยเป็น วณี เวอร์ชั่น 2531
 
คุณเพ็ญวดี thaifilm ได้วิจารณ์การแสดงของ "วณี" ในแต่ละเวอร์ชั่นไว้ว่า
 
เหลือตัวละครอีกตัว เป็นตัวเด่นแต่บทเป็นรอง...ก็ไม่เป็นไร บทสำคัญเช่นกัน ว่ากันให้ครบวงจรเลย ก็ บท"วณี" แม่นางเอกไง บทนี้ก็เด่น การสร้างหลายครั้งจึงต้องนำคนระดับเคยเป็นนางเอกมาเล่น เพราะเป็นแม่นางเอกนี่นา 
 
1.พงษ์ลดา....ในหนังเน้นไม่มาก บทน้อยและเบา แต่คุณป้าท่านก็เล่นได้ตามบท คือ ใจดี สุภาพ อ่อนโยน 
2.อารีย์....คนนี้นางเอกเก่า มารับบทแม่นางเอกตามวัย มีบทมากหน่อย ก็นุ่มนวล ใจดี เรียบร้อยได้ตามบท แต่ก็เก็บอารมณ์ ซ่อนความรู้สึกเก่งเช่นกัน เมื่อรับรู้ความสัมพันธ์ของสามีกับคนใช้ อันเป็นสาเหตุให้เกิดเรื่อง 
3.นันทวัน...บุคลิกลักษณะไม่ต้องพูดถึง ทราบและเห็นแล้วว่าเหมาะกับบทแบบนี้อย่างมาก พูดจาอ่อนหวาน นิ่มนวล เป็นผู้ดีทุกกระเบียดนิ้ว แสดงความรู้สึกเจ็บปวดแต่ไม่พูดออกมาได้ดี เมื่อรู้ว่าสามีเคยได้กับคนใช้ แล้วเป็นชนวนให้เกิดเรื่องขโมยลูกไป 
4.หนังทางช่อง 7 ไม่ทราบชื่อผู้แสดง ไม่เล่นแล้วตอนนี้ ดูเรียบๆ แสดงออกทางตาได้ดี แต่ดูเด็กไปหน่อยกว่าที่จะแสดงเป็นแม่นางเอก เพราะแม่-ลูกวัยใกล้กันมาก อาจวัยเท่ากันได้นะตัวจริงน่ะ 
5.เนาวรัตน์....พี่จิ๊กก็เล่นได้ดี เก็บกดตอนลูกหาย แสดงออกทางสีหน้า สื่อดี คุมอารมณ์ได้เหมาะสม แม้บทน้อยแต่ก็เล่นให้เด่นได้...เดี๋ยวนี้ยังเล่นบทแบบนี้ได้อีกไหม...ไม่เห็นแล้ว...เปลี่ยนไป 
6.กาญจนา....คล้ายอารีย์ และนันทวัน บุคลิก ท่าทาง กิริยา ไปกันได้กับบท แสดงออกด้วยความกังวล ห่วงใยลูกและเสียใจที่ลูกหาย แต่เก็บความรู้สึกไม่โกรธสามีที่เป็นต้นเหตุได้ ขณะเดียวกันก็เป็นคนมีความเชื่อมั่น พยายามหาทางพิสูจน์ความจริงว่าลูกของตนคือคนไหน ใช่ตามที่เย็นบอกไหม ก็แสดงได้ดี 
 
ทั้งหมดนี้คือ ทัศนะเกี่ยวกับ วณี แม่นางเอก ที่ตามบทเป็นลูกผู้ดีเก่า หัวอ่อน เรียบร้อย เก็บอารมณ์ได้.........ในลีลาแต่ละคน
 
 
 
เครดิต pantip.com
 
 

Admin : fasaiumi
view
:
6433

Post
:
2014-06-24 10:41:02


ร่วมแสดงความคิดเห็น