บ้านขุนช้าง ตอนจบ
2017-05-09 15:09:00

บ้านขุนช้างหรือคุ้มขุนช้าง ตั้งอยู่ด้านหลังวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรีเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารเป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหารวัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมายพระมหามกุฎอยู๋ระหว่างฉัตรคู่ บอกให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยที่เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือง ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ภายหลัง พ.ศ. 1724 ที่วัดแห่งนี้ประชาชนนิยมมานมัสการ หลวงพ่อโต ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่นเห็นแต่ไกลเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ มีลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุพระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุอีกช้างหนึ่งในท่าทรงรับของถวายองค์พระสูง 23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร มีนักปราชญ์หลายท่านว่า หลวงพ่อโตเดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งเหมือนพระพนัญเชิงในสมัยแรก ๆ เพราะมักจะพบว่าพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สร้างในสมัยก่อนอยุธยาและอยุธยาตอนต้น ส่วนมากชอบสร้างไว้กลางแจ้งเพื่อให้สามารถมองเห็นได้แต่ไกล

 

ภายในองค์พระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลายจำนวน 36 องค์ หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดใกล้เคียงทุกปีจะมีงานเทศกาลสมโภชและนมัสการหลวงพ่อวัดเปเลไลยก์ 2 ครั้ง คือ ในวันขึ้น 7-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12 นอกจากพระพุทธรูปปาลิไลยก์แล้ว ยังมีพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดทองอีก 2 องค์ประดิษฐานอยู่เบื้องหน้าด้านขวาซ้ายของพระปาลิไลยก์ เป็นพระพุทธรูปที่สวยงาม สันนิษฐานว่ารัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้สร้างไว้ประจำพระวิหาร คราวโปรดให้มีการซ่อมแซมพระวิหาร แต่ก่อนเบื้องหลังองค์พระนี้มีก้อนหินกลม ๆ อยู่ 2 ก้อนกล่าวกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ใช้เสี่ยงทายโดยอธิษฐานแล้วยกเช่นถ้าสิ่งที่คิดสำเร็จขอให้ยกก้อนหินขึ้น ถ้าไม่สำเร็จขอให้ยกไม่ไหวดังนี้เป็นต้น โดยบริเวณภายนอกพระวิหารด้านหลังพระวิหารใหญ่มีวิหารเล็ก ๆ อยู่หลังหนึ่ง มีพระพุทธรูปเสี่ยงทายด้วย เป็นเครื่องบอกให้รู้เช่นเดียวกับการยกก้อนหินในวิหาร พระพุทธรูปเสี่ยงทายนี้จะมีมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฎหลักฐานด้านทิศใต้ของพระวิหาร มีพระอุโบสถ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2468 โดยพระครูโพธาภิรักษ์ สอนเจ้าอาวาส และผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมกับประชาชนร่วมใจจัดสร้างขึ้น รูปทรงพระอุโบสถโอ่โถงประดับลวดลายวิจิตรพิสดารโดยตลอด พระประธานมีพุทธลักษณะงดงามมาก

 

วัดป่าเลไลยก์เป็นพระอารามหลวงที่พระมหากษัตริย์ทั้งในอดีตและปัจจุบันเคยเสร็จพระราชดำเนินมานมัสการ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ตลอดมา ปัจจุบันกรมศิลปากรร่วมกับวัดป่าเลไลยก์ และจังกวัดสุพรรณบุรีได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและปิดทององค์หลวงพ่อโตให้มีความงดงามยิ่งขึ้น นั่นเอง...

 

ตอนแรก

 

Credit : ปางบรรพ์ , Pailin , tatsuphan.net , ourasean.com , pirun.ku.ac.th , konderntang.com , painaidii.com

by Admin Park


Admin :
view
:
4031

Post
:
2017-05-09 15:09:00


ร่วมแสดงความคิดเห็น