มาทำความรู้จักโรค Earworm กับเพลง PPAP (Pen – Pineapple – Apple – Pen) กันเถอะ
2016-09-27 10:51:26

มาทำความรู้จักโรค Earworm กับเพลง PPAP (Pen – Pineapple – Apple – Pen) กันเถอะ

 

 

 

     กำลังเป็นเพลงที่กำลังฮิตติดหู (ติดหูจริงๆ) ในช่วงนี้กับเพลง “PPAP” (Pen – Pineapple – Apple – Pen) ที่ร้องและแต่งโดยศิลปินที่ชื่อว่า Pico Taro” ที่ได้ปล่อยออกมาใน Chanel Youtube ในตอนนี้ ซึ่งเพลงนี้มีความยาวเพียงแค่นาทีเดียวเท่านั้นแต่เผลอแป๊ปเดียวกลับฟังไป 10 กว่ารอบแล้ว

 

 

      ซึ่งจริงๆ แล้วศิลปิน Pico Taro ท่านนี้มีชื่อจริงว่า คาซูฮิโตะ โคซากะ (Kazuhiko Kosaka) เป็นถึงอาจารย์จากมหาวิทยาลัยชิบะ ดีเจ  นักแสดงตลก NBR” และยังเป็นสมาชิกกลุ่มนักดนตรี โดยเขาชื่นชอบดนตรีแนว Funk และเพลงนี้ถูกแต่งขึ้นมา เพื่อโปรเจคPico Taro Animation Project” เพื่อศึกษาเกี่ยวกับโรค Earworm หรืออาการเพลงยังคงเวียนอยู่ในหัวของเรานั่นเอง!

 

 

โรค Earworm คือ ???

 

 

 

     คืออาการของคนเราที่เจอกันทำนองเพลง หรือเนื้อเพลงท่อนหนึ่งติดวนเวียนในหัวโดยไม่สามารถขจัดเนื้อเพลงหรือทำนองเพลงดังกล่าวออกไปจากหัวได้ อาการ Earworm เกิดขึ้นได้กับคนเราตั้งแต่หลายนาทีไปจนถึงหลายชั่วโมงก็มี ซึ่งอาการเพลงติดหูนี้เรียกได้อีกหลายอย่าง เช่น Brain worms, sticky music, cognitive itch, และ stuck song syndrome

 

     ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเพลงที่จะทำให้เกิดอาการเพลงติดหูจะต้องเป็นเพลงที่เราชอบแล้วร้องบ่อยๆ ทุกวันเท่านั้น แต่มักเกิดกับเพลงที่ใช้สำหรับการโฆษณาที่ต้องการทำให้ติดหูผู้ชมและผู้ฟัง  หรือซิงเกิลเพลงฮิตที่เปิดตามคลื่นวิทยุต่างๆ เพลงเหล่านี้ก็จะเข้าไปวนเวียนอยู่ในหัวจนไม่สามารถจัดการมันออกไปได้

 

Cr. www.goodlife.co.th

 

     อาการ Earworm มักเกิดขึ้นในเวลาที่ไม่เหมาะสม เพราะส่วนใหญ่มักสร้างความรำคาญและไม่เป็นที่ต้องการ ยิ่งเวลาที่เราอยากมีสมาธิในการทำงาน ถ้ายังมีเนื้อเพลงหรือทำนองเพลงวนเวียนอยู่ในหัวแล้วล่ะก็ จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานเป็นอย่างมากเพราะว่าไม่สามารถคิดเนื้องานออกมาได้เลย และ Earworm สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้หญิงและผู้ชายในแบบเท่าๆกัน จากตัวเลขการสำรวจพบว่า 98% ของคนที่ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขาเคยมีอาการเพลงติดหูแทบทั้งสิ้นอย่างน้อยก็ 1 ครั้ง

 

    ส่วนวิธีการแก้อาการ Earworm นั้นมีนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วอชิงตัน บอกไว้ว่าให้ทำกิจกรรมกระตุ้นความจำที่มีความยากในระดับปานกลาง อย่างเช่น แก้ปัญหาตัวเลขซูโดกุ, อ่านหนังสือนิยาย เป็นต้น ซึ่งสามารถทำให้อาการดังกล่าวหายไป และยังช่วยลดการกลับมาเกิดซ้ำได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำจากโรงเรียนสอนด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรีดดิ้ง ของประเทศอังกฤษ บอกว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งก็สามารถช่วยได้เช่นกัน

 

 

 

………………………………………………………………………………………

 

 

Cr. www.wikipedia.com / science.howstuffworks.com

ทีมงานตาโตเรียบเรียงนำเสนอ


Admin :
view
:
4086

Post
:
2016-09-27 10:51:26


ร่วมแสดงความคิดเห็น