9 สุดยอดเครื่องรางของขลัง แห่งสยามประเทศ ตอนที่ 4 เสื้อยันต์ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองขามเฒ่า
2014-09-08 13:30:00

"หลวงปู่ศุข" หรือ "พระครูวิมลคุณากร" มีชื่อเดิมว่า "ศุข" ท่านเกิดในวันจันทร์ เดือน 4 ปีวอก ปีพุทธศักราช 2390 หรือ ปีคริสต์ศักราช 1847 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท หลวงปู่ศุข มีบิดาและมารดา ชื่อนายน่วมและนางทองดี หลวงปู่ศุข มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมดร่วมท่านด้วยแล้ว 8 คนคือ 1. หลวงปู่ศุข 2. นางอ่ำ 3. นางรุ่ง 4. นางไข่ 5. นางสิน 6. นายมี 7. นายขำ 8. หลวงพ่อปลื้ม ว่ากันว่าครอบครัวของหลวงปู่ศุข ไม่ใช่คนจังหวัดชัยนาท แต่เป็นเชื้อสายที่มาจากกรุงเก่าหรือก็คือพระนครศรีอยุธยา ชีวิตในวัยเด็กของหลวงปู่ศุข นั้นหลวงปู่ศุขมีลุงชื่อ นายแฟง ซึ่งก็เป็นพี่ชายของมารดาท่านแท้ๆ โดย ลุงแฟง แต่งงานมีภรรยาแต่ก็ไม่มีบุตรธิดา จึงได้มาขอหลวงปู่ศุขไปเป็นบุตรบุญธรรม โดยบิดากับมารดาก็ยอม หลังจากที่หลวงปู่ศุข ได้ย้ายไปอยู่กับลุงแฟง ซึ่งในขณะที่อาศัยอยู่กับลุงแฟง นั้นหลวงปู่ศุข ก็ได้ สมบุญ มาเป็นภรรยา ซึ่งสมบุญ ก็เป็นหลานสาวของลุงแฟง กล่าวกันว่าหลวงปู่ศุข ได้สมบุญมาเป็นภรรยาก็เพราะวิชาอาคม ที่หลวงปู่ศุข ในวัยฉกรรจ์ไปค้นตำราของลุงแฟงมา หลวงปู่ศุขในวัยหนุ่มก็ได้มีบุตรกับนางสมบุญ ด้วยกันหนึ่งคนชื่อนายสอน และว่ากันว่าต่อมานายสอนได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น และได้มีลูกมีหลานมากมายและโดยใช้นามสกุลว่า "เกษเวชสุริยา" หรือ "เกษเวช" ก็มีครับ ต่อมาเมื่อหลวงปู่ศุข มีอายุได้ 25 ปี ท่านก็ได้สมัครใจยินยอมขอเข้าอุปสมบทเอง แต่บิดาและมารดาของหลวงปู่ศุข ก็ได้มาร่วมงานอุปสมบทของท่าน เพราะเนื่องจากในสมัยการเดินทางค่อนข้างจะลำบากใช้ระยะเวลา ในการเดินทางนาน ไม่เหมือนกับปัจจุบัน ทั้งนั้นในการอุปสมบทของหลวงปู่ศุข จึงมีแต่เพียงลุงแฟง และญาติของท่านไม่กี่คนเท่านั้น โดยหลวงปู่ศุข ท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดโพธิ์ทองล่าง บางเขน (ในสมัยนั้น) และได้ "พระครูเชย จนทสิริ" ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัด เป็นพระอุปัชฌายะ และหลวงปู่ศุข ก็ได้รับฉายาว่า "เกษระโร" โดยส่วนตัวนั้นหลวงปู่ศุข ท่านเองมีความชื่นชอบในการศึกษาร่ำเรียนวิชาอาคมเป็นอย่างมาก ท่านจึงเดินทางออกแสวงหาพระอาจารย์ เพื่อสั่งสอนวิชาอาคมให้แก่ท่านเรื่อยมา ภายหลังจากที่หลวงปู่ศุข ได้ศึกษาร่ำเรียนวิชาอาคม และได้ออกธุดงค์เพื่อฝึกตน จนตัวท่านมีความชำนาญดีแล้ว และในใจท่านเองในขณะนั้นก็มีความคิดถึงบิดาและมารดาเป็นอย่างมาก จึงได้ตัดสินใจเดินทางกลับมายังบ้านเกิด โดยในขณะที่ท่านเดินทางกลับมาที่จังหวัดชัยนาท บ้านเกิดนั้นท่านก็ได้ข่าวมาจากชาวบ้านว่ามารดาของท่านอยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำ และต้องข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไป เมื่อท่านได้ยินดังนั้นท่านจึงไปปักกลดอยู่ที่ต้นแม่น้ำท่าจีน ซึ่งในบริเวณนั้นมีศาลาเก่าๆอยู่ หลวงปู่ศุข จึงได้ปักกลดอยู่ไม่ห่างจากศาลามากนัก เมื่อมีชาวบ้านเดินผ่านมาท่านก็จะถามถึงมารดาของท่านตลอด จนในที่สุดหลวงปู่ศุขท่านก็ได้พบกับมารดาของท่านและครอบครัว ในครั้งแรกที่พบกันไม่มีใครจำหลวงปู่ศุขได้เลย เพราะจากกันไปนานตั้งแต่ท่านยังเด็กๆ หลังจากนั้นเองก็มีชาวบ้านที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านได้ช่วยกันสร้างกุฏิให้กับหลวงปู่ศุข จนในที่สุดหลวงปู่ศุขกับชาวบ้าน ก็ร่วมแรงร่วมใจ กันสร้างจนเป็นวัดสำเร็จในที่สุด และหลวงปู่ศุขท่านก็ได้ตั้งชื่อให้กับวัดนี้ว่า "วัดอู่ทองปากคลองมะขามเฒ่า" แต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดปากคลองมะขามเฒ่า" หลวงปู่ศุข ได้มรณภาพลงในวันจันทร์ที่ 21 มกราคม ปีพุทธศักราช 2466 หรือในปีคริสต์ศักราช 1923 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รวมอายุได้ 76 ปี

 

ตลอดอายุของหลวงปู่ศุข ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้มากมาย และปริมาณไม่น้อย แต่ด้วยกาลเวลาทำให้ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านหาได้ยากยิ่ง ในบรรดาวัตถุมงคลของหลวงปู่ศุขนั้น มีอยู่อย่างหนึ่งที่หาได้ยากกว่าชิ้นอื่นๆ และยังเป็นสิ่งที่นักสะสมเสาะแสวงหากันมาครอบครอง นั่นก็คือ เสื้อยันต์ นั่นเอง โดยตัวเสื้อนั้นเนื้อผ้าจะเป็นผ้าโบราณในยุคสมัยนั้น จารมือด้วยหมึกจีนยุคต้นๆครับ ลงลายมือของหลวงปู่เองซึ้งเป็นลายมือที่เป็นระเบียบสวยงาม ประสบการณ์นั้นมากมายเลยทีเดียว จัดได้ว่าผู้ที่ได้ครอบครองนั้นส่วนใหญ่ก็ลูกหลานของเจ้าของเสื้อที่รอดมาจากสงคราม เสื้อยันต์หลวงปู่ศุขนี้นับเป็นวัตถุมงคลที่จัดได้ว่าหาได้ยากสุดๆชิ้นหนึ่งเลยทีเดียวครับ

ตอนต่อไป ตาโตดอทคอมจะพาไปพบ สุดยอดความปรารถนาของแอดมินเลยก็ว่าได้ นั่นก็คือ กะลาราหู หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง ห้ามพลาดกันนะครับ


Admin : Rapin
view
:
10111

Post
:
2014-09-08 13:30:00


ร่วมแสดงความคิดเห็น