รถไฟสายมรณะ(สะพานแม่น้ำแคว)
2014-04-22 17:45:00

     

         

            ทำไมสะพานข้ามแม่น้ำแคว จึงเป็นชื่อที่รู้จัดโด่งดังไปทั่วโลก มัมิใช่เพราะความอลังการ หรืองดงามตระการตาใด ๆ  หากแต่ คำตอบแท้จริง มันคือความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นในอดีต อันขมขื่น  ณ ที่แห่งนั้นต่างหาก  ที่เป็นเสน่ห์อันเร้าใจไม่มีวันจบสิ้น

           

           แต่ถ้าหาจะย้อนมองให้ลึกซึ้งลงไปอีก ความเศร้าสลดสยดสยอง ที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นประวัติศาสตร์ ยากที่จะหาใดเสมอเหมือนได้นั้น แท้จริง มันอยู่บนเส้นทางรถไฟ ที่ทอดผ่านสะพานเข้ามแม่น้ำแควแห่งนี้ ซึ่งมีระยะทางยาวไม่กี่ร้อยกิโลเมตร ที่ใช้เวลาสร้างอันรวดเร็ว และสำคัญที่สุด ก็คือ ต้องสูญเสียชีวิตคนไปถึงหนึ่งแสนคน เจ็บป่วย และพิการ อีกหลายหมื่นคน เพราะความโหดร้ายทารุณ จนทางรถไฟสายนี้ ถูกเรียกว่า "ทางรถไฟสายมรณะ"

         

         การที่ทางรถไฟสายนี้ ถูกเรียกว่า เป็นทางรถไฟสายมรณะ โดยเฉพาะ นับตั้งแต่ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปตามแนวลำแม่น้ำแควน้อย จรดชายแดน ที่ "นีก้า" ซึ่งอยู่ตอนใต้ของเมืองเมาละแหม่ง ก็เนื่องจากว่า บรรดาเชลยศึกประเทศพันธมิตร ที่ญี่ปุ่นกวาดต้อนมาจากฟิลิปปิสน์  อินโดนียเซีย  สิงคโปร์  มลายู และกรรมกร ทั้งไทย  จีน  แขก  ซึ่งมีจำนวนรวมประมาณ 170,000 คน ส่วนหนึ่ง ต้องเสียชีวิตลง เพราะความโหดร้ายทารุณ ทั้งจากทหารญี่ปุ่น และจากภัยธรรมชาติถึงแสนคน ยังที่ต้องพิกลพิการอีกนับหมื่น เพียงเพื่อสร้างทางรถไฟสายเดียวที่ยาว ไม่กี่ร้อยกิโลเมตร

         

        เป็นโศกนาฏกรรม อันใหญ่หลวงของมนุษย์โลก ที่ใคร ๆ  ก็ไม่สามารถลบ ออกไปจากความทรงจำได้ และที่กล่าวกันว่า "ทางรถไฟสายนี้ ฝ่ายพันธมิตร ต้องสูญเสียไป 1 ศพ ต่อ 1 ไม้หมอนที่รองรางรถไฟ" นั้น ไม่เกินไปจากความจริงเลย ดังบันทึกของ George  Voges อดีตเชลยศึก เขียนไว้ใน THAILAN - BURMA RAIL ROAD ตอนหนึ่งว่า...

     
          เราต้องรับผิดชอบในการสร้างสะพาน สองสะพาน ซึ่งห่างประมาณ 1 ไมล์จากค่าย หลังอาหารเช้า แล้วเราก็เดินแถวเรียงหนึ่ง เพื่อไปทำงาน เอาอาหารกลางวันติดตัวไปด้วย และทำงานจนถึง 6 โมงเย็นทุกวัน บ่ายวันนั้น เราถือเหล็กแหลม ไม้ เชือก ไปยัง ที่สร้างสะพาน สะพานหนึ่งยาว 40 หลา อีกสะพานหนึ่ง สั้นกว่าเล็กน้อย ข้ามแนว 2 แห่ง ซึ่งลึกเกินไป หากจะคิดถมดิน มันไม่ใช่งานของผู้มีความรู้ ด้านวิศวกรรม เราต้องเป็นกรรมกร - กุลี แต่วิธีการสร้าง แบบของญี่ปุ่นนั้นง่าย และอายุการใช้งานเพียงชั่วคราว ครั้งแรก ตั้งเสาเอาตะลุมพุก กระแทกเข็มลงในดิน ใช้คนสองชุด สำหรับดึงเชือกหลายเส้น แล้วปล่อยลูกตุ้ม กระแทกให้เข็มใหญ่ลึกลงไปในดิน เมื่อเข็มเหล่านี้ หยั่งลึก และได้ระดับดีแล้ว ก็สร้างสะพานไม้ บนฐานไม้เหล่านั้น เชลยสงครามบางคน นั่งถาก แต่เสาเข็มให้แหลม บางคนาดึงเชือกลากลูกรอก เอาไม้สักขึ้นจากแม่น้ำระยะ 30 ฟุต จากเบื้องล่าง
 
       
        อะไรก็พอทน แต่แสงแดดในยามบ่าย แผดเผาผิวหนังพวกเรา จนไหม้เกรียม แถมกางเกง ซึ่งไม่มีจะนุ่งด้วย เอาเศษผ้ามาทำเป็นผ้าเตี่ยว ปกปิดบัง เครื่องเพศไว้เพียงนิดเดียว เหงื่อไหลโทรมกาย ไหลเข้าตาแสบ การฉุดดึงไม้ใหญ่ให้เข้าที่ ดังทาส ฟาโรห์ สร้างปิระมิดในอียิปต์สมัยโบราณ นั่งร้านสูง มีทหารญี่ปุ่นคนหนึ่ง คอยบอกให้สัญญาณ ปล่อยลูกตุ้ม ลงบนเข็ม แล้วก็เริ่มลากชักไปใหม่
 
       
       เสียงนับ 1 - 2 ดังตลอดเวลาบ่าย มือพอง เลือดไหล แสดงแดดในยามบ่าย ไม่เคยเวทนาปรานีใคร  พอ 6 โมงเย็น เราก็ลงอาบน้ำพร้อม ๆ  กับพลทหาร งานทำสะพานร้ายทารุณกว่าพูนดินทำถนน รอรับรางรถไฟ เรารู้ทุกคนว่า ทะระโมโต้ เกลียดนายทหารมากกว่าพลทหารและนายสิบ สิ่งที่กล่าวมานี้ เป็นงานประจำวันของชุดเชลยสงคราม ระดับนายทหารสัญญาบัตร จนสะพาน 2 แห่งนี้ แล้วเสร็จ และเราออกจากค่ายชนไก่
 
     
      ด้วยเวลาเพียงวันเดียว เราเอาซุงขนาดใหญ่ขึ้นจาก แม่น้ำ 88 ตัน ด้วยมือและเรี่ยวแรงของมนุษย์ แล้วแบกต่อไปอีก 60 หลา วางซ้อนไว้ ทำไปจนกว่า จะหมดแรงหรือเจ็บป่วย....
 
   
       ได้กล่าวถึงการสร้างทางที่ท่าขนุน (ทองผาภูมิ ในปัจจุบัน) ว่า... เป็นช่วงที่พวกเราจะต้องรับผิดชอบ ทำดิน พูนดิน และทำสะพาน  ภูมิประเทศช่วงนี้ สุดลำเค็ญ ด้านหนึ่งของขอบถนน เป็นเขาชั้นหนึ่งในสาม สูงหลายร้อยฟุต ยอดเขาปกคลุมด้วยไผ่ และป่าสูง และด้านข้าง ๆ  มีสภาพเป็นเหว หวาดเสียว ไม่น่าดูเลย สำหรับความลึก
 
     
       ตรงที่เป็นเหวลึกนี้ พวกเชลย จะต้องขุดเจาะ ทำทางรถไฟเลาะไปตลอด และขนดิน หิน ไม่ให้ขวางทาง และจะต้องยืนทำงานตัวตรง ทำมุมกับหน้าผาก 60 องศา และหุบเขาแห่งหนึ่ง ๆ  ก็หมายถึงสะพานหรือท่อน้ำลอด
 
   
       ถ้าไม่ถูกบีบบังคับที่เช่นว่านี้ ทำเองก็คงต้องใช้เวลา หลายปี...
 
     
       และอีกตอนหนึ่ง บรรยายถึงสภาพความโหดร้ายว่า
 
     
      วันวานนี้เสียชีวิต 9 คน และก่อน 11 โมงเช้าวันนี้ ตายไปอีก 2 คน บรรดากุลีเหล่านี้ (หมายถึง พวกทมิฬ คนงานที่กวาดต้อนมาจากมลายู) ได้เข้ามาอยู่ใน ประเทศไทย ประมาณ 4 เดือน  แพทย์สองคนได้บอกว่า อย่างน้อย ๆ  ตายไปแล้วถึงแสนคน  พวกเขา ตายอย่างไร ที่ตำบลท้องช้าง วันแรก ๆ  นายทหารผู้หนึ่ง ถูกโบยตีอย่างหนัก เพราะไม่ยอมสังหารคนป่วยทมิฬ ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นอหิวาตก์ฯ ใกล้ตาย เขาออกไปพบกับ นายทหารอังกฤษคนอื่น ๆ  ทุกวัน เพื่อไปเก็บศพกุลี เหล่านั้น ซึ่งคลานไปตายในป่า นำมาเผาเสีย
 
     
      ครั้งหนึ่ง ชาวทมิฬชราผู้หนึ่ง ยันตัวขึ้น ขณะอยู่ในเปล ซึ่งวางระหว่างศพ กำลังจะลงในหลุม ที่ฝังรวมกัน ทหารญี่ปุ่นที่ควบคุม ก็ฟาดศีรษะทมิฬผู้นั้น ด้วยพลั่ว ร่างของเหลื่อเซถลาลงไปกองสุมรวมกันศพ เหล่านั้น ก่อนที่จะถูกดินกลบ
 
 
     วิธีกำจัดศพพวกทมิฬ โดยทั่วไป ก็คือ โยนศพลงไปในแม่น้ำ ส่วนมากจะถูกทิ้งให้ตายในที่แจ้ง ก่อนจะตาย ก็ปล่อยให้นั่งจมอยู่ในบ่อส้วม (เพราะเป็นอหิวาตก์ฯ ถ่ายไม่หยุด) แมลงวันตอมเต็มตัว
 
 
     ศพหนึ่งนั่งพิงต้นไม้ ถูกสัตว์ประเภทหนู - เม่น มาแทะ เหลือแต่กระดูกขาวโพลน ภายใน 48 ชั่วโมง โครงกระดูกก็ยังอยู่ในลักษณะเดิม คือท่านั่งถ่าย...
 
 
     มีคนตายมาก ๆ  เสียจนเวลาที่กลบดิน เกลี่ยดิน ปิดหลุมฝังศพหมู่ มือศพยังโผล่พ้นดินที่ถมขึ้นมา คนเหล่านี้ต้องพบกับการตายอย่างทารุณ และทรมาน ทุกรูปแบบที่โลกนี้จะพึงมี....
 
 
     ทั้งหมดเป็นเพียงแค่บางเสี้ยวของเรื่องราว ที่ George  Voges เขียนเล่าไว้ในบันทึกดังกล่าวของเขา
 
 
     ทางรถไฟสายมรณะ ที่กลืนชีวิตเชลยศึก และกุลีชาวเอเชียที่ถูกบังคับไปนับแสนคน ได้สร้างเสร็จ และสามารถลำเลียงเสบียง และยุทโธปกรณ์ ได้วันละ 3,000 ตัน มีเวลาอยู่ได้ไม่ถึง 3 ปี ในปี พ.ศ. 2488 เครื่องบินของฝ่ายพันธมิตร ได้มาทิ้งระเบิดสะพานข้าม แม่น้ำเสียหาย แต่เชลยศึก ก็ต้องเสียชีวิตไปด้วยมากมาย เช่นกัน เพราะการทิ้งระเบิด ไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดว่า แคมป์เชลยศึก ตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง
 
 
     จนกระทั่ง ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามในปีเดียวกัน เพราะระเบิดปรมาณู 2 ลูก ที่สหรัฐฯ หย่อนลงในเมือง ฮิโรชิมา และนางาซากิ ครั้นเมื่อสงครามปิดฉากลง ทุกสิ่งทุกอย่าง จึงกลายเป็นอดีตอันเศร้าสลด ให้กล่าวถึง ความโหดร้าย อันเป็นอมตะจนทุกวันนี้

 

 

เครดิต : บทความ http://allknowledges.tripod.com/deadrailway.html

            รูปภาพ  http://www.vcharkarn.com/varticle/43611

                 


Admin : benzbenzs
view
:
2699

Post
:
2014-04-22 17:45:00


ร่วมแสดงความคิดเห็น