โศกนาฏกรรม ”รัก”แห่งราชสำนักไทย
2014-01-28 14:22:38
ความรักก่อให้เกิดทั้งสุขและทุกข์ เมื่อรักมากแต่ไม่สมปรารถนาก็เป็นธรรมดาที่จะต้องทุกข์มากเช่นกัน ดังที่จะนำเสนอเรื่องราวของความทุกข์ที่เกิดจากความรักของเจ้านายทั้ง2พระองค์จนนำไปสู่คำว่า “โศกนาฏกรรม”
 
 
ภาพหมายเลข1 คือวังพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี ภาพด้านล่างพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ องค์ที่2จากซ้าย
ภาพหทายเลข2 คือ พระรูปคู่ฉลองอภิเษกสมรสของ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์กับหม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์
 
 
องค์ที่1เป็นเจ้าชายคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นคนไทยคนที่ 2 ที่จบการศึกษาในวิชาระดับปริญญาเอกอีกด้วย เมื่อเสด็จกลับจากต่างประเทศ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงเสกสมรสกับเจ้าหญิงศิริมา ณ เชียงใหม่ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นเจ้าหญิงแห่งเมืองเหนือที่มีพระสิริโฉมยิ่งนัก ผิวพรรณผุดผ่อง แก้มสีชมพู ผิวขาวนวล แถมมีสุ้มเสียงอันไพเราะทรงครองรักอยู่ได้ไม่นาน พระชายาก็ถึงแก่พิราลัยอย่างกะทันหัน ด้วยทรงเป็นตะคริวขณะกำลังสรงน้ำในสระน้ำภายในพระราชวังดุสิต พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ทรงเสียพระทัยอย่างมิอาจจะหักห้ามได้ อีกทั้งพระองค์ยังมีความเครียดสะสมในเรื่องของงานรวมถึงพระโรคที่ทรงประชวร สุดท้ายพระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยปลงพระชนม์เองด้วยพระแสงปืน เล่ากันว่าเสียงปืนดังไปทั่วจนถึงประตูใหญ่หน้าพระตำหนัก
 
องค์ที่2เป็นเจ้าหญิงคือ หม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์ เป็นพระธิดาองค์โตในสมเด็จ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช(สมเด็จวังบูรพา พระองค์เป็นน้องชายรัชกาลที่5) ประสูติ ณ วังบูรพาภิรมย์ หลังการเกศากันต์(โกนจุก)ท่านหญิงทิพย์ก็ได้เข้าไปฝึกหัดอย่างชาววังในสำนักของพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี กล่าวกันว่า ท่านหญิงทิพย์เป็นกุลสตรีที่มีพระสิริโฉมงดงามและเพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติที่ฝ่ายในพึงมีจนเป็นที่หมายพระทัยของเจ้าชายในพระราชวงศ์ 
 
ต่อมาพระองค์จึงตัดสินพระทัยอภิเษกสมรสกับ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ตามความเห็นชอบพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 เป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมากถึงกับโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสังข์ในพิธีอภิเษกสมรส ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และในตอนค่ำวันเดียวกันนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย และเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ออกไปส่งตัวเจ้าสาวที่วังนางเลิ้ง อันเป็นวังที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5พระราชทานเป็นเรือนหอ ทั้งสองพระองค์ทรงครองรักกันจนมีโอรส 3 พระองค์ 
 
หม่อมเจ้าหญิงทิพยสัมพันธ์ทรงมีความสุขกับพระสวามีเพียงไม่กี่ปีก็ทรงมีเรื่องน้อยพระทัยเสด็จในกรมฯ เช่นเรื่องที่เสด็จในกรมรับหม่อมเล็กๆเข้ามาอยู่ในวัง พระองค์ทรงปลงชีพพระองค์เองโดยการเสวยยาพิษ (ดื่มยาพิษ) จนสิ้น ทำให้สมเด็จวังบูรพาผู้เป็นพ่อและเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 ผู้ทรงเป็นลุงแท้ๆทรงสลดพระทัย จึงทรงเมตตาแก่พระโอรสพระองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์เป็นอันมาก ถึงกับสถาปนาโปรดเกล้าฯขึ้นเป็นหลานเธอ นามว่า พระหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และสถาปนาพระอัฐิพระมารดาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพย 
คำสุดท้ายของเจ้าหญิงทิพย์สัมพันธ์เอ่ยไว้มีความว่า " คนที่เรารัก ก็ยังมิค่อยได้อยู่ใกล้ "
 
สมเด็จสมเด็จวังบูรพาผู้เป็นพระราชบิดา ของหม่อมเจ้าหญิงทิพย์สัมพันธ์ ทรงโศกเศร้าเสียพระทัยถึงกับได้แต่งกลอนบทหนึ่งไว้ว่า
 
เขาไม่รักเราแล้วหนอพ่อจะเลี้ยง
ถึงเวียงวังเราก็มีที่อาศัย
เขาไม่รักเราแล้วก็แล้วไป
จะไปรักเขาไยให้ป่วยการ "…..
 
เพื่อให้ได้อ่านอย่างเข้าใจง่ายขึ้นแอดมินจึงขออนุญาตใช้คำสามัญเป็นบางส่วนและเรียบเรียงถ้อยคำเพื่อเพิ่มความสะดวกในการอ่าน
 
Credit : Facebook - คลังประวัติศาสตร์
 

Admin : admin
view
:
8304

Post
:
2014-01-28 14:22:38


ร่วมแสดงความคิดเห็น